News & Activity

ข่าวและกิจกรรม

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงฯ(สวพส.) จัดเสวนาครั้งใหญ่เปิดข้อมูล “เฮมพ์ (กัญชง)...พืชมหัศจรรย์” ระดมผู้เกี่ยวข้องร่วมกำหนดทิศทางพัฒนาขับเคลื่อน โอกาสงามสร้างอาชีพและรายได้แก่ประชาชนมหาศาล ทดแทนปลูกข้าวโพดได้ดี



เชียงใหม่ 5 ก.ย.-ที่ห้องราชพฤกษ์ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดเสวนา “เฮมพ์ (กัญชง)...พืชมหัศจรรย์” ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน โดยหลังเสวนาวันแรกแล้วพาคณะลงพื้นที่ดูของจริงสถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายชวลิต ชูขจร อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการบอร์ดสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เป็นประธานเปิดงานและมี นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวรายงานและได้บรรยายพิเศษเรื่อง “ภาพรวมทิศทางการวิจัยเฮมพ์ตามนโยบายทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง” ภายในงานยังมีผู้ร่วมเสวนาในหัวข้อต่างๆจากวิทยาการมากความรู้อีกหลายท่าน หลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาที่เกี่ยวข้อง ในหัวข้ออื่นๆ เช่น ทิศทางการขับเคลื่อนงานวิจัยเฮมพ์ในอนาคต - การปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ - การใช้ประโยชน์จากเมล็ดกัญชงเพื่อเป็นอาหาร - งานวิจัยเฮมพ์ทางทหาร(ชุมทหารจากเส้นใยเฮมพ์) - การใช้ประโยชน์จากเฮมพ์ทางการแพทย์ - การใช้เฮมพ์สำหรับทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง - กฎหมายเกี่ยวกับกับเฮมพ์ และโอกาสของเฮมพ์ในเชิงพาณิชย์ - กระบวนการแปรรูปเส้นใยเฮมพ์ในเชิงอุตสาหกรรม ในการเสวนา มีผู้ที่สนใจกัญชงเข้าร่วมกว่า 300 คน โดยหลังจากที่ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วในวันที่ 6 กันยายน จะมีการลงพื้นที่ไปยังสถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเข้าเยี่ยมชมแปลงสาธิตการปลูกกัญชงด้วย

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงกล่าวว่า ถือเป็นการเปิดบ้านให้ความรู้อย่างเต็มรูปแบบครั้งแรกสำหรับ กัญชง หลังจากที่โครงการหลวงได้ทำการศึกษาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งตลอดการจัดกิจกรรมทั้ง 2 วันนี้ ประชาชนจะได้เข้าใจถึงความสำคัญของกัญชงและรู้ถึงแนวทางการพัฒนาเฮมพ์ร่วมกับหน่วยงานบูรณาการต่างๆ วิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อม จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์การปลูกเฮมพ์และกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเฮมพ์เพื่อสร้างรายได้และเป็นอาชีพให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูงและทั่วไปอย่างไร ทั้งนี้ เฮมพ์ เป็นพืชที่มีความสำคัญในวิถีชีวิตและเป็นภูมิปัญญาของชาวเขาบนพื้นที่สูงมานับแต่โบราณ สำหรับการทำเครื่องนุ่งห่ม โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2546 ณ สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ห้วยแม่เกี๋ยง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ว่า“....โดยเฉพาะกัญชง ให้พิจารณาข้อดีและตัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป ก็จะส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจได้ เพราะให้เส้นใยที่มีคุณภาพ....” และในปีพ.ศ.2547 ว่า “...สมควรศึกษาและส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูกกัญชง เพื่อใช้เส้นใยผลิตเครื่องนุ่งห่มและจำหน่ายเป็นรายได้....”รัฐบาลโดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มูลนิธิโครงการหลวงสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ จัดทำและดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง ฉบับที่1 พ.ศ.2552-2556 และแผนปฏิบัติการพัฒนาเฮมพ์บนพื้นที่สูง ระยะ 5 ปี (2553-2557) 

ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การวิจัยและส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งปัจจุบันพบว่า การดำเนินงานที่สำคัญๆ ประสบผลสำเร็จตามแผนงานและเป้าหมายที่กำหนด ทั้งในด้านงานวิจัยและการพัฒนาพันธุ์เฮมพ์ ให้มีคุณสมบัติในการปลูกเป็นการค้าได้ คือ มีสารเสพติดต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด ให้ผลผลิตสูง พร้อมทั้งเทคโนโลยีในการปลูกและดูแลรักษา และได้แก้กฎหมายให้สามารถส่งเสริมปลูกเฮมพ์เป็นพืช ที่ใช้สอยในครัวเรือน เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน ซึ่งจากความสำเร็จของการดำเนินงานในข้างต้นนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงจึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาในระยะต่อไป คือการผลักดันการส่งเสริมปลูกเฮมพ์ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการสร้างอาชีพและรายได้แก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมปลูกทดแทนการปลูกข้าวโพดในพื้นที่ไม่เหมาะสมและเป็นปัญหา เนื่องจากเฮมพ์ เป็นพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถใช้ประโยชน์จากต้นเฮมพ์ได้ทุกรูปแบบ รวมทั้งเป็นพืชสำคัญเชิงนโยบายในการใช้สกัดเพื่อทำยารักษาโรค ดังนั้นในการดำเนินงานเพื่อการสานต่องานวิจัยและการพัฒนาเฮมพ์ข้างต้นนั้น โครงการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเรียนรู้การผลิตพืชไร่บนพื้นที่สูง สำนักพัฒนา ร่วมกับสำนักวิจัย จึงได้จัดให้มีการประชุมเสวนา เรื่อง “เฮมพ์ (กัญชง) พืชมหัศจรรย์” ในครั้งนี้ขึ้น

เขียนเมื่อ 05 กันยายน 2562 07:54:16 น. (view: 9878)

รูปภาพ-เอกสารประกอบ




FM100 CMU Logo
สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ 50200

Call us

On air : 053-942711-2
Office : 053-942710

Email & Fax

EMAIL : fm100@cmu.ac.th
          fm100cmu@yahoo.com

LINE :  FM100CMU 

 

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน
https://forms.gle/e4E3rYTnv3LvxcxN8

ติดตาม FM100 ได้ทุกช่องทาง

รับฟังรายการสดได้ทาง