News & Activity
ข่าวและกิจกรรม
กรมการข้าว จับมือองค์กรต่างๆ และ มูลนิธิม.เกษตรฯ เปิดโครงการนำร่องโรงเรียน”ปุ๋ยสั่งตัด”ทางอากาศ ให้องค์ความรู้แก่เกษตรกรต้นแบบพื้นที่เชียงใหม่ น้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ร่วมกัน สืบสาน รักษา และต่อยอด ตามพระปฐมบรมราชโองการในหลวง ร.10 เพื่
ที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานในการเปิดโครงการนำร่อง โครงการโรงเรียน ปุ๋ยสั่งตัดทางอากาศ ในพื้นที่ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นความร่วมมือของหน่วยงานองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ กรมการข้าวกรมพัฒนาที่ดิน มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในนามของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้ความรู้ในเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด ให้กับเกษตรกรชาวนาต้นแบบ นำเอาไปปฏิบัติใช้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนจะขยายผลสู่พื้นที่อื่นต่อไป เปิดเผยว่า โครงการนำร่องโรงเรียนปุ๋ยสั่งตัดทางอากาศ เป็นการนำร่องให้ข้อมูล ที่ถูกต้องให้กับเกษตรกรได้เอานำไปใช้ให้เหมาะสมซึ่งผ่านมาการให้องค์ความรู้อาจจะไม่ทั่วถึงการใช้สื่อของทางสถานีวิทยุเพื่อเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรงก็จะเป็นการปฏิบัติที่เข้าถึงกลุ่มและถือเป็นการวิจัยถึงผลสัมฤทธิ์ไปด้วยเพราะเทคโนโลยีเรื่องของปุ๋ยสั่งตัดแม้จะมีมานานแต่ยังถือว่าการนำไปใช้ ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จากที่รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของ ปุ๋ยสั่งตัด อีกครั้งโดยให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการสนับสนุนการผลิตหรือจัดหาปุ๋ยสั่งตัดผ่านสถาบันเกษตรกร เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา และมอบหมายให้ทาง กรมวิชาการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินการร่วมกัน โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ขับเคลื่อนในด้านการฝึกอบรม เผยแพร่องค์ความรู้ให้กับเกษตรกร เพราะข้อมูลจากกรมการข้าวในปี 2560 ประเทศไทยมีพื้นที่นาทั้งประเทศกว่า 56 ล้านไร่ แต่มีการใช้ปุ๋ยสั่งตัดแค่ 23,000 ไร่ หรือแค่ 0.4% เท่านั้น ถือว่าน้อยมาก แต่ถ้าถ้าชาวนาทั้งประเทศหันมาใช้ปุ๋ยสั่งตัด จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยไปได้ถึงปีละกว่า 14,000 ล้านบาท
ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ผ่านมาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจเรื่องดินและปุ๋ยสำหรับผลิตข้าวไม่ถูกต้อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ดังนั้นจึงจำเป็น ต้องสร้างองค์ความรู้และให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการที่จะนำปุ๋ยสั่งตัดไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องเหมาะสม จึงในโครงการนำร่องในครั้งนี้ขึ้นซึ่งก็คาดหวังว่าน่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีและเกิดความเข้าใจ เพื่อให้การนำไปใช้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเป็นรูปประธรรม แน่นอนว่าเมื่อเกิดผลสัมฤทธิ์ก็จะมีการขยายต่อยอดโครงการเพื่อให้ทั่วถึงทั่วประเทศต่อไป
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุพร สุวรรณวาจกกสิกิจ ผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุม.ก.ในฐานะองค์กรผู้แทนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมูลนิธิมหาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีเครือข่ายสถานีวิทยุทั้ง 4 ภูมิภาคได้เข้ามามีบทบาทในการมีส่วนร่วมเป็นช่องทางในการเผยแพร่ องค์ความรู้ให้กับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายนำร่องในครั้งนี้กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้คิดค้นเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของศาสตราจารย์ ดร. ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (ผู้ทรงคุณวุฒิคณะเกษตร) ผู้คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภททีมปี 52 ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการให้ธาตุอาหารแก่พืชตามสภาพของพื้นที่ ซึ่งจะนำไปช่วยลดต้นทุนด้านการเกษตร และทำให้สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น จึงได้ทำการเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องดินและเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจในหน่วยงานต่างๆ มากว่า 17 ปี ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงร่วมกับ กรมการข้าว โดย ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ดำเนินโครงการ “โรงเรียนปุ๋ยสั่งตัดทางอากาศ” ด้านการจัดการเนื้อหา การผลิตรายการ และการเผยแพร่องค์ความรู้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด ออกสู่สาธารณชน ผ่านทางเครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกอากาศทั้ง 4 ภูมิภาค ในระบบ เอ.เอ็ม.สเตอริโอ และยังสามารถรับชม-รับฟัง ทั้งภาพและเสียงผ่าน Mobile Application ทั้งในระบบ Android ระบบ iOS และผ่านสื่อโซเชียล Facebook Live , Youtube Live ซึ่งสามารถรับชม-รับฟังย้อนหลังได้ เพื่อให้เกษตรกรไทย บุคลากร ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจทั่วไป นำไปใช้ในการประกอบอาชีพสนับสนุนซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม
เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2562 06:13:34 น. (view: 10336)