News & Activity

ข่าวและกิจกรรม

ศูนย์ฟินเตรียมจัดเสวนา "อินไซด์ มิชลินไกด์" เผยกลยุทธ์การยกระดับร้านอาหารสู่มาตรฐานมิชลิน พร้อมขับเคลื่อนโครงการ Gastronomy Tourism : LANNA Gastronomy “คิดถึงเชียงใหม่”



  รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (Food Innovation and Packaging Center: FIN) เปิดเผยว่า กิจกรรมสัมมนาออนไลน์ INSIDE THE MICHELIN GUIDE ภายใต้โครงการ Gastronomy Tourism : LANNA Gastronomy “คิดถึงเชียงใหม่” เป็นการเสวนาเจาะลึก ไขข้อสงสัย ตอบทุกประเด็น ที่จะช่วยให้ร้านอาหาร ผู้ประกอบการได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในร้านที่ได้รับมาตรฐานมิชลินไกด์ โดยจะจัด ในวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00-11.30 น.ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting

  “ โดยที่ผ่านมามักจะมีคำถามว่าร้านที่จะได้ Michelin Star ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร จำเป็นต้องเป็นร้านหรูๆ ราคาแพงหรือไม่ แล้วร้านอาหารข้างทาง ราคากลางๆ มีสิทธิ์จะได้ไปอยู่ใน Michelin Guide บ้างมั้ย ? ต้องบอกว่าร้านอาหารข้างทาง หรือร้าน Street Food ก็มีสิทธิ์เป็นหนึ่งในร้าน Michelin Guide เช่นเดียวกัน” รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา กล่าว  

  ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถลงทะเบียน ฟรี ได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSc_GAKHpAMPKTPyNyxsvF9MJ9eeZ7xPwT9hpS-j5FAu859JYw/viewform?fbclid=IwAR3_XE4Q9jHWSvnNldy86j0H28M6nyrFhqeihQQnT8nHPkYAhxwLQPeaffc 



  ส่วนโครงการ Gastronomy Tourism : LANNA Gastronomy “คิดถึงเชียงใหม่” รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา กล่าวว่า จุดเด่นของโครงการคือ การนำอาหารอร่อย ๆ ในเชียงใหม่ ตลอดจนวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารล้านนา มาเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาให้เชียงใหม่เป็น เมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารล้านนาแบบใหม่ (Chiang Mai Gastronomy Culture) อย่างชัดเจนขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ด้วย “Gastronomy” หรือการนำเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการทำอาหารด้วยการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นล้านนา

          “พวกเราและรัฐบาลคงมองเห็นเหมือนกันว่า เศรษฐกิจหลัง COVID - 19 มันซบเซามาก เราจึงมีแนวคิดว่า การท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงอาหารปัจจุบันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และคนเริ่มนิยมมากขึ้น น่าจะสามารถช่วยให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ ภาคเหนือมีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีองค์ความรู้ มีภูมิปัญญาอยู่ ซึ่งถ้าเราพูดถึงเรื่องของภูมิปัญญา หรือ Creative ก็มีหลายมิติ ทั้งศิลปหัตถกรรม อาหาร การดูแลสุขภาพ ส่วนใหญ่เชียงใหม่จะถูกพูดถึงในเชิงศิลปวัฒนธรรม แต่ในเชิงอาหารก็มีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ถูกพูดถึงอย่างชัดเจนมากนัก

        โดยความถนัดของ FIN เอง ถนัดในเรื่องของ process กลางน้ำ เมื่อได้พูดคุยกับทางผู้ใหญ่ ทั้งในเชียงใหม่และทางส่วนกลาง ซึ่งมองว่าน่าจะร้อยเรียงให้เป็นสายเดียวกัน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เชียงใหม่มีร้านอาหารเยอะมาก แต่ทำอย่างไรจึงจะดึงให้นักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางเข้ามา หรือดึงเอาวัตถุดิบดี ๆ ของภาคเหนือมาใช้ และสร้างสรรค์ให้มันเกิดเป็นเมนูอาหาร มันอาจเกิดเป็นรูปแบบใหม่เลยก็ได้ เช่น บ้านเรา มีข้าวผัดอเมริกัน ซึ่งที่อเมริกาไม่มีนะ แต่ถ้าเราสามารถเอาโครงการนี้มาสร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ รูปแบบใหม่ ให้กลายเป็น signature ของภาคเหนือ เช่น ต่อไปคนมาเชียงใหม่เขาจะต้องบอกว่า จะต้องกิน Lum Rice จะไปหากินได้ร้านไหนดี? นี่คือต้นแบบที่จะสร้าง Creative ตรงนี้ขึ้นมา ซึ่งนอกจาก อร่อย สวยแล้ว ยังมีคุณค่าที่ดี และส่งมอบความจริงใจจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภคอีกด้วย”รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา กล่าว

เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2564 15:06:49 น. (view: 10337)

รูปภาพ-เอกสารประกอบ




FM100 CMU Logo
สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ 50200

Call us

On air : 053-942711-2
Office : 053-942710

Email & Fax

EMAIL : fm100@cmu.ac.th
          fm100cmu@yahoo.com

LINE :  FM100CMU 

 

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน
https://forms.gle/e4E3rYTnv3LvxcxN8

ติดตาม FM100 ได้ทุกช่องทาง

รับฟังรายการสดได้ทาง