News & Activity
ข่าวและกิจกรรม
บพท.หวังเวทีเสวนา Chiang Mai Forum The Next New Normal ทุกฝ่ายใช้โอกาสร่วมเดินหน้า “เศรษฐกิจใหม่-ชุมชนใหม่” เลิกทะเลาะตามกระแสดราม่า ร่วมกันพลิกเชียงใหม่ทำได้จริงไม่เพ้อฝัน
เชียงใหม่ 17 ธ.ค.- ที่อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะเปิดเวทีเสวนาวันที่สอง Chiang Mai Forum The Next New Normal ครั้งที่ 2 "ทิศทางการขับเคลื่อนจังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ชุมชนใหม่ และระบบนิเวศน์ใหม่ ภายใต้วิถีปกติใหม่ระยะถัดไป (Next New Normal)" เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางพัฒนาเมืองอย่างมีประสิทธิภาพจับต้องได้พลิกฟื้นจากวิกฤตผลกระทบโรคโควิด-19 โดยท้องถิ่นเป็นไกลหลักของพื้นที่ ซึ่งมีตัวแทนของทุกภาคส่วนมาระดมความเห็นสร้างแผนพัฒนาที่สามารถทำได้จริงๆ โดยมี รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวต้อนรับและเผยว่า เวทีครั้งนี้เป็นผลงานการผลักดันจากโครงการวิจัย ที่ บพท. สนับสนุนทุน ไป 3 โครงการ คือ โครงการ "การสร้างกลไกการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคเหนือให้มีขีดความสามารถในการปรับตัวสู่ความยั่งยืนและยกระดับสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนระดับโลกหลังวิกฤตสถานการณ์ COVID - 19" โดยนายอนุชา มีเกียรติชัยกุล หัวหน้าชุด โครงการ Learning city "การพัฒนาเมืองเชียงใหม่นครแห่งการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาเมืองพลวัตที่ยั่งยืน" โดย ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ หัวหน้าชุด โครงการ "โครงข่ายท้องถิ่นกับการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่" มีรศ.ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ หัวหน้าชุดโครงการ และโครงการ “การจัดการเมืองเชิงระบบในภาวะฉุกเฉินเพื่อรับผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)"รวมถึงโครงการพัฒนาคลองแม่ข่า ที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ตอนนี้ด้วย
รศ.ดร.ปุ่นกล่าวว่า เวทีนี้เป็นการร่วมกันทำงานจริงๆที่จะสร้างโอกาสที่เป็นไปได้ ทำได้ เกิดผลดีต่อประชาชนและสังคมพัฒนาถูกทิศทาง ดึงงานวิจัยมาใช้กับงานอย่างเหมาะสม วันนี้ท้องถิ่นต้องช่วยกันและให้ความตระหนักใส่ใจเพื่อสร้างความเข้มแข็ง มีความยั่งยืน เราเสียเวลาไปพอสมควร วิกฤตเศรษฐกิจและหลายอย่างจากโควิด-19 ครั้งนี้จึงเป็นห้วงเวลาที่เหมาะในการมาร่วมมือกัน เลิกทะเลาะกัน บพท.เห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่ส่งเสริมแต่ละท้องถิ่นให้เข้มแข็งหลายที่เดินหน้าได้ดี เพราะจะรู้พื้นฐานในพื้นที่ว่า จุดอ่อนจุดแข็งและความต้องการทิศทางพัฒนาเป็นอย่างไร เชียงใหม่ก็มีหลายอย่างที่เป็นจุดแข็งผ่านมามีแผนแต่ยังเดินไม่ได้เต็มที่ เราสร้างความฝันที่เป็นไปได้ทำได้ แผนนี้จะตอบโจทย์ชัดเจน ทำอย่างไร งบประมาณ ทิศทาง ตอนนี้ก็ทำไปหลายด้านที่ต้องให้เห็นชัดเจน เช่น เมืองแห่งการจัดนิทรรศการ, Medical HUB เอกชนและเกี่ยวข้องเห็นโอกาสทำได้ ท้องถิ่นต้องทำออกมาอย่างมีเหตุมีผลผ่านองค์ความรู้และข้อมูล ไม่ใช่ทางความรู้สึก แผนนี้ไม่ใช่เอามาแบ่งงบประมาณกัน ปัญหาไทยเราขาดแผนที่ทำจริง มีข้อจำกัดมาก งานวิจัยจะมาช่วยปลด ทำแล้วจับต้องได้ จะเดินหน้าเป็นเมืองที่มั่งคั่งยัางยืนได้จริง จริงๆเชียงใหม่เริ่มช้าด้วยซ้ำมีคนเก่งเยอะมากแต่เราขาดการร่วมมือกัน ขาดเจ้าภาพจริง เราทำแบบเดิมกลไกเศรษฐกิจเดิมไม่ได้แล้วต้องปรับกลยุทธ์มัวมาขัดแย้งกันสร้างวาทกรรมกันเราก็เดินไม่ได้ เราหมดแรงกันแล้วถ้ายังฝืนต่อไป ต้องใช้การทำงานแบบปัญญารวมหมู่ (collectiveintelligence) นักวิจัย นักขับเคลื่อน สื่อและท้องถิ่น ทิศทางชัดเจนมีโอกาสมาก ไม่ใช่พื้นที่ทะเลทรายต้องออกมาช่วยกันทำวางรากฐานให้คนรุ่นต่อๆไปสานต่อได้.
เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2564 16:24:38 น. (view: 10341)