News & Activity

ข่าวและกิจกรรม

บพท.หนุน“เชียงใหม่” นำร่องเมืองปลอดคาร์บอนฯ ผลักดันการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าแทนยานยนต์น้ำมัน ก่อนขยายผลไปยังทุกภาคส่วนดันเป็นเมืองไร้มลพิษอย่างแท้จริง

เชียงใหม่​ 20​ ธ.ค.- ที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์เชียงใหม่ (ลานช้างคำ) ต.แม่เหียะ​ อ.เมือง​เชียงใหม่​ นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการ 



จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานงานแถลงข่าว โครงการ “Chiang Mai EV Society ขับเคลื่อนเมืองคาร์บอนต่ำด้วยยานยนต์ไฟฟ้า” ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากโครงการ “การจัดการเมืองเชิงระบบในภาวะฉุกเฉิน เพื่อรับผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายในเมืองเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ขนส่งจังหวัดเชียงใหม่​เทศบาลเมืองแม่เหียะ สภาลมหายใจ ผู้ประกอบการขนส่งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน โดยกำหนดพื้นที่นำร่องเมืองสีเขียว ที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ โดยมีการส่งมอบสถานีอัดประจุไฟฟ้า ให้แก่เทศบาลเมืองแม่เหียะ ทั้งนี้เพื่อเป็นต้นแบบนำร่องสังคมยานยนต์ไฟฟ้าขององค์กรท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับประชาชนท้องถิ่นด้วย 

โอกาสนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่พร้อมสนับสนุน โครงการขับเคลื่อนเมืองคาร์บอนต่ำด้วยยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในจังหวัดเชียงใหม่ที่ มีเป้าหมายเพื่อ สนับสนุนให้นำยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาใช้แทนยานยนต์พลังงานฟอสซิลถือเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเดินทาง และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนั้นโครงการนี้จึงถือเป็นการนำร่องให้เชียงใหม่มุ่งสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ และเชื่อมั่นว่าในอนาคตอันใกล้ทุกภาคส่วนในจังหวัดเชียงใหม่จะร่วมมือกันนำยานยนต์พลังงานไฟฟ้ามาทดแทนยานยนต์พลังงานน้ำมัน ซึ่งจะส่งผลให้เชียงใหม่กลายเป็นเมืองไร้มลพิษอย่างแท้จริง 

ขณะที่​ รศ.ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้าน 

การพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการต่อยอดโครงการ “จัดการเมืองเชิงระบบในภาวะฉุกเฉินเพื่อรับผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” และพัฒนากลไกกระบวนการพัฒนาธุรกิจและบริการสาธารณะต้นแบบ (Area  

Sandbox) เชื่อมต่อแผนธุรกิจและแผนการบริการสาธารณะของเมือง โดยใช้พื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ เป็นพื้นที่นำร่อง โดยการทดลองติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ จะเป็นหนึ่งในกิจกรรมนำร่องเพื่อทดสอบการดำเนินงานจริงของสังคมคาร์บอนต่ำในระดับท้องถิ่น โดยได้ทำพิธีส่งมอบให้อยู่ในความดูแลของท้องถิ่นในวันนี้เพื่อนำไปขยายผลในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันเดินหน้าเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองคาร์บอนต่ำ รองรับเงื่อนไขของภาวะปกติใหม่ (New Normal) อันเป็นผลลัพธ์จากการดำเนินการวิจัยโครงการ “การจัดการเมืองเชิงระบบในภาวะฉุกเฉินเพื่อรับผลกระทบ ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” ซึ่งเป็น 

โครงการวิจัยที่ บพท. ให้การสนับสนุนเวลานี้ ซึ่งพบว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นหลังจากสถานการณ์โควิด​-19​ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหันมาใช้รูปแบบของเศรษฐกิจสีเขียว ในการขับเคลื่อน และการผลักดันให้เกิดสังคม EV ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวในระดับฐานรากอย่างเป็นรูปธรรม  

ด้านนางวราภรณ์​ วรพงศธร​ ขนส่งจังหวัด​เชียงใหม่​กล่าวว่า​ ถือเป็นเรื่องที่ดีและหน่วยงานกรมการขนส่งทางบกก็ผลักดันเนื่องนี้และพยายามแก้ไขกฎหมาย​ให้สอดคล้องที่สำคัญ​คือความปลอดภัย​ในการใข้รถใช้ถนนและการดูแลสิ่งแวดล้อมจะต้องไปควบคู่กันไป​ ส่วนนายธนวัฒน์​ ยอดใจ​ นายก​ ทม.แม่เหียะ​ กล่าวขอบคุณ​ทุกส่วนที่ร่วมกันผลักดันและนำร่อง​ที่เทศบาลเมือง​แม่เหียะแห่งนี้​ ด้วยศักยภาพ​โครงสร้างพื้นฐานการจราจร​ เส้นทางท่องเที่ยวสำคัญ​ต่างๆใกล้เมือง​ รวมทั้งความพร้อมภาคเอกชนการขนส่งเชื่อว่สจะเป็นการต่อยอดการฟื้นฟูพัฒนาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ​จากผลกระทบ​โควิด-19​ ได้เป็นอย่างดีที่สำคัญ​ประชาชน​ได้รับประโยชน์​ชัดเจน​

ทั้งนี้ในงานมีการจัดแสดงยานยนต์ไฟฟ้าในหลายรูปแบบ เพื่อยืนยันถึงความพร้อมของเทคโนโลยีที่สามารถใช้งานได้จริงในปัจจุบัน โดยผู้ประกอบการและหลายราย อาทิ​ บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการที่เป็นผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ที่มองว่าเชียงใหม่ที่เป็นหัวเมืองหลักของประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมการและตั้งรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูเมืองหลังจากวิกฤติโควิด-19 ที่เรากำลังเผชิญ ดังนั้นจึงรู้สึกดีใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นการรวมตัวของทุกภาคส่วนในเมืองเชียงใหม่ อันเป็นผลมาจากงานวิจัยโครงการ “จัดการเมืองเชิงระบบในภาวะฉุกเฉินเพื่อรับผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ทุกฝ่ายร่วมสร้างระบบนิเวศน์ด้านการอนุรักษ์พลังงานและลดมลพิษในพื้นที่เมือง ในครั้งนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้นต่อไป.

เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2564 14:07:05 น. (view: 7223)

รูปภาพ-เอกสารประกอบ




FM100 CMU Logo
สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ 50200

Call us

On air : 053-942711-2
Office : 053-942710

Email & Fax

EMAIL : fm100@cmu.ac.th
          fm100cmu@yahoo.com

LINE :  FM100CMU 

 

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน
https://forms.gle/e4E3rYTnv3LvxcxN8

ติดตาม FM100 ได้ทุกช่องทาง

รับฟังรายการสดได้ทาง