News & Activity

ข่าวและกิจกรรม

รองประธาน​สภาวัฒนธรรม​เชียงใหม่​ชื่นชมราชบัณฑิต​ฯจัดกิจกรรม​ดีส่งเสริมเยาวชนร่วมอนุรักษ์​ภาษาถิ่น​รากเหง้ามรดกทางวัฒนธรรม​ จัดเวที​ 4​ ภาค

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาส่งเสริมเยาวชนร่วมสืบสานความเป็นไทยจัดประกวดเล่าเรื่องหัวข้อ “ท้องถิ่น ที่มา ภาษา วัฒนธรรม” ด้วยภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น​ 4​ภาค​ ในโครงการ “รู้ รัก ภาษาไทย”ภาคเหนือจัดที่เชียงใหม่​ สภาวัฒนธรรม​ชื่นชม

    

เชียงใหม่​ 25 เม.ย.- รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการฯ​ รักษาการเลขาธิการสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเปิดเผยว่า​ นโยบายการทำงานของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาในปีงบประมาณ 2565 มีทั้งโครงการเดิมที่ดีที่ต่อยอดมาจากปีก่อนๆ และจะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น​ โดยโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี​ 2565 จะมีทั้งกิจกรรมในพื้นที่ การฝึกอบรมและการผลิตตำรา โดยมุ่งเป้าไปที่เด็กเยาวชนคนรุ่นใหม่ในระดับฐานรากและบุคลากรทางการศึกษา โดยฉพาะครูภาษาไทยและครูประวัติศาสตร์ ซึ่งจะต้องได้รับเพิ่มเติมองค์ความรู้ในสาขาเพิ่มขึ้นอย่างมีคุณภาพ​ และตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558 สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีหน้าที่ข้อหนึ่งคือ “จัดการศึกษาอบรมและพัฒนาทางวิชาการเกี่ยวกับภาษาไทย ภาษาไทยถิ่น” สำนักงานราชบัณฑิตยสภา จึงได้จัดการประกวดเล่าเรื่องหัวข้อ “ท้องถิ่น ที่มา ภาษาวัฒนธรรม” ด้วยภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น สำหรับเยาวชน​ ซึ่งเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม. 1-3) จากโรงเรียนต่าง ๆ ในแต่ละภาค โดยให้นักเรียนเล่าเรื่องด้วยภาษาถิ่นที่แสดงถึงวิถีชีวิต ประเพณี การละเล่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถานที่ หรือบุคคลสำคัญในท้องถิ่นของตนเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์​ไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม​พื้นที่ถิ่น (โรงเรียนที่อยู่ในภาคใต้ เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคใต้, โรงเรียนที่อยู่ในภาคเหนือ เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคเหนือ, โรงเรียนที่อยู่ในภาคอีสาน เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคอีสาน และโรงเรียนที่อยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยมาตรฐาน) คณะกรรมการจะพิจารณาจากความสามารถในการใช้ภาษาถิ่น มีเนื้อหาที่ผู้ฟังประทับใจ และมีลีลาในการเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติสมวัย 

สำหรับการประกวดจะแบ่งเป็น 2 รอบ คือ รอบแรก สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะคัดเลือกผู้ผ่านรอบแรก​ จากวีดิทัศน์ของแต่ละภาคให้เหลือภาคละ 10 คน ผู้ผ่านรอบแรกพร้อมโรงเรียนจะได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา รอบสุดท้าย ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกในแต่ละภาคต้องเล่าเรื่องตามประเด็นเดิมในรอบแรก ต่อหน้าคณะกรรมการคัดเลือกของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา 

ทั้งนี้การจัดการประกวดรอบสุดท้ายจะเริ่มจาก ภาคใต้ ในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2565 ที่โรงแรมต้นอ้อย แกรนด์ จังหวัดสงขลา, การประกวดของ ภาคเหนือ จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2565 ที่โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซต์ เชียงใหม่, การประกวดของภาคตะวันออกเฉียง​เหนือ​หรืออีสานจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2565 ที่โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์, ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2565 ที่โรงแรมกรุงศรี ริเวอร์ อยุธยา ต่อไป​ และการประกวดดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช​ 2565 นักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 จะเข้ารับรางวัลในงานวันภาษาไทยแห่งชาติต่อไปและการประกวดแต่ละภูมิภาค​จะมีการถ่ายทอดสดผ่านทุกแพลทฟอร์ม​ของสถานีวิทยุ​กระจายเสียง​มหาวิทยาลัย​เกษตร​ศาสตร์​ด้วย



ด้านนายวัลลภ​ นามวงศ์​พรหม​ รองประธาน​สภาวัฒนธรรม​จังหวัด​เชียงใหม่​และกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์​มูลนิธิ​วัดพระบรมธาตุ​ดอยสุ​เทพ​ จ.เชียงใหม่​กล่าวชื่นชมว่า​ สำนักงาน​ราช​บัณฑิตยสภา​มีนโยบาย​ส่งเสริมเรื่องนี้ดีมากและอยากให้คงไว้ตลอดเพราะผ่านมาเราละเลยการดูแลส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์​รากเหง้าของภาษาถิ่นไปพอสมควร​ บางพื้นที่เยาวชนไม่สามารถ​พูดภาษาถิ่นได้ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลเพราะภาษาเป็นสิ่งสะท้อนถึงประวัติศาสตร์​วัฒนธรรม​รากเหง้า​ประเพณี​ที่ดีงามต่างๆของท้องถิ่นที่นับวันเริ่มถูกมองข้ามด้วยวิวัฒนาการ​เทคโนโลยี​ที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว.

เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2565 12:59:57 น. (view: 10336)

รูปภาพ-เอกสารประกอบ




FM100 CMU Logo
สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ 50200

Call us

On air : 053-942711-2
Office : 053-942710

Email & Fax

EMAIL : fm100@cmu.ac.th
          fm100cmu@yahoo.com

LINE :  FM100CMU 

 

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน
https://forms.gle/e4E3rYTnv3LvxcxN8

ติดตาม FM100 ได้ทุกช่องทาง

รับฟังรายการสดได้ทาง