News & Activity

ข่าวและกิจกรรม

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา จัดประกวดเล่าเรื่องหัวข้อ ท้องถิ่น ที่มา ภาษา วัฒนธรรม ด้วย "ภาษาไทยมาตรฐาน" และ "ภาษาไทยถิ่น" ในโครงการ "รู้ รัก ภาษาไทย”ประจำปี 2565 ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกปีนับตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา จัดประกวดเล่าเรื่องหัวข้อ ท้องถิ่น ที่มา ภาษา วัฒนธรรม ด้วย "ภาษาไทยมาตรฐาน" และ "ภาษาไทยถิ่น" ในโครงการ "รู้ รัก ภาษาไทย”ประจำปี 2565 ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกปีนับตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน 



วันที่ 30 เมย.65 ที่โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซต์ เชียงใหม่ สํานักงานราชบัณฑิตยสภาจัดการประกวดเล่าเรื่องเกี่ยวกับ วัฒนธรรมท้องถิ่นด้านอาหาร หัวข้อ ท้องถิ่น ที่มา ภาษา วัฒนธรรม ด้วย "ภาษาไทยมาตรฐาน" และ "ภาษาไทยถิ่น" ในโครงการ "รู้ รัก ภาษาไทย” สำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม. 1-3) จาก โรงเรียนต่างๆในภาคเหนือ โดยมีนายศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการและรักษาการเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา และคณะกรรมการ แขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมกิจกรรมและตัดสินผู้ชนะในรอบภาคเหนือ



นายศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการและรักษาการเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา กล่าวถึงการจัดการประกวดเล่าเรื่องหัวข้อ ท้องถิ่น ที่มา ภาษา วัฒนธรรม ด้วยภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่นในโครงการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ว่า หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาตาม พ.ร.บ.ราชบัณฑิตยสภา  พ.ศ. 2558 ฉบับปัจจุบัน ระบุไว้ข้อหนึ่งว่ามีหน้าที่ ศึกษา อบรมและพัฒนา "ภาษาไทย" ภาษาถิ่น การอนุรักษ์ภาษาไทยไม่ให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม เป็นการส่งเสริมภาษาไทยให้ปรากฎเด่นชัดยิ่งขึ้น  โดยมุ่งเป้าไปที่เด็กเยาวชนคนรุ่นใหม่ในระดับฐานรากและบุคลากรทางการศึกษา โดยฉพาะครูภาษาไทยและครูประวัติศาสตร์ ซึ่งจะต้องได้รับเพิ่มเติมองค์ความรู้ในสาขาเพิ่มขึ้นอย่างมีคุณภาพ​ และตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558 สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีหน้าที่ข้อหนึ่งคือ “จัดการศึกษาอบรมและพัฒนาทางวิชาการเกี่ยวกับภาษาไทย ภาษาไทยถิ่น” สำนักงานราชบัณฑิตยสภา จึงได้จัดการประกวดเล่าเรื่องหัวข้อ “ท้องถิ่น ที่มา ภาษาวัฒนธรรม” ด้วยภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น สำหรับเยาวชน​ ซึ่งเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม. 1-3) จากโรงเรียนต่าง ๆ ในแต่ละภาค โดยให้นักเรียนเล่าเรื่องด้วยภาษาถิ่นที่แสดงถึงวิถีชีวิต ประเพณี การละเล่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถานที่ หรือบุคคลสำคัญในท้องถิ่นของตนเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์​ไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม​พื้นที่ถิ่น (โรงเรียนที่อยู่ในภาคใต้ เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคใต้, โรงเรียนที่อยู่ในภาคเหนือ เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคเหนือ, โรงเรียนที่อยู่ในภาคอีสาน เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นภาคอีสาน และโรงเรียนที่อยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก เล่าเรื่องด้วยภาษาไทยมาตรฐาน) คณะกรรมการจะพิจารณาจากความสามารถในการใช้ภาษาถิ่น มีเนื้อหาที่ผู้ฟังประทับใจ และมีลีลาในการเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติสมวัย 



การประกวดแบ่งเป็น 2 รอบ คือ รอบแรก สํานักงานราชบัณฑิตยสภา ได้คัดเลือกจาก วีดิทัศน์ของแต่ละภาคให้เหลือภาคละ 10 คน รอบสุดท้าย ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกในแต่ละภาค ต้องมาแสดงความสามารถในการใช้ภาษาถิ่นต่อหน้าคณะกรรมการ ในวันนี้ (30 เมษายน 2565) ซึ่งผลการตัดสินของคณะกรรมการ รางวัลชนะเลิศ ของภาคเหนือ ได้แก่  เด็กหญิงจิราภัทร รักสถานโรงเรียนบ้านสบพลึง จังหวัดลำปาง

รองชนะเลิศอันดับ1ได้แก่เด็กหญิงชนิดาภา พงศ์วรินทร์ โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จังหวัดพะเยา

และรองชนะเลิศอันดับ2ได้แก่ เด็กหญิงต้นอ้อ ลุงต่าโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่



รางวัลชมเชย ได้แก่

1.นางสาวสิริยากร วรรณสมพร

โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

จังหวัดแพร่

2.เด็กหญิงกิรณา ลี บ้านเรียนกิรณา

จังหวัดเชียงใหม่

3.เด็กหญิงกัญญาณัฐ ทรงคำ

โรงเรียนสันทรายวิทยาคม

จังหวัดเชียงใหม่

4.เด็กชายปฏิภาณ สุขงาม

โรงเรียนบ้านปาง จังหวัดลำพูน

5. นายอภิวิชญ์  พรมแจ้

โรงเรียนแม่จันวิทยาคม จังหวัดเชียงราย

6. เด็กหญิงจิดาภา กาหลง

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ

จังหวัดเชียงใหม่

7. เด็กชายธนาธิป ตื้อจันตา

โรงเรียนสันป่ายางวิทยาคม

จังหวัดเชียงใหม่



ทั้งนี้การประกวดดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติประจำปี 2565 โดยจัดมาแล้วในภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา และจะจัดในภาคตะวันออกเฉียง​เหนือ​ ในวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2565 ที่โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์, ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2565 ที่โรงแรมกรุงศรี ริเวอร์ อยุธยา ตามลำดับ ซึ่งนักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ1 และรองชนะเลิศอันดับ2 ของแต่ละภาค จะเข้ารับรางวัลในงานวันภาษาไทยแห่งชาติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาต่อไป

เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2565 15:11:27 น. (view: 7274)

รูปภาพ-เอกสารประกอบ




FM100 CMU Logo
สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ 50200

Call us

On air : 053-942711-2
Office : 053-942710

Email & Fax

EMAIL : fm100@cmu.ac.th
          fm100cmu@yahoo.com

LINE :  FM100CMU 

 

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน
https://forms.gle/e4E3rYTnv3LvxcxN8

ติดตาม FM100 ได้ทุกช่องทาง

รับฟังรายการสดได้ทาง