News & Activity

ข่าวและกิจกรรม

สมาคมวัฒนธรรมความพิการ จัดเสวนา“วัฒนธรรมความพิการในหนังสือและภาพยนตร์” ณ งานเชียงใหม่ บุ๊คแฟร์

สมาคมวัฒนธรรมความพิการจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ “วัฒนธรรมความพิการในหนังสือและภาพยนตร์” ในงานเชียงใหม่บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 7 ณ เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ โดยในการเสวนาครั้งนี้วิทยาการได้แนะนำหนังสือและภาพยนตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมความพิการ กล่าวถึงประเด็นเรื่องของการเรียกชื่อผู้พิการและผู้ไม่พิการ รวมทั้งการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคนพิการ

หลังจากที่งานเชียงใหม่บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 7 ได้เริ่มจัดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2565 ณ เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ ทางสมาคมวัฒนธรรมความพิการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานด้วยการจัดเสวนาในหัวข้อ วัฒนธรรมความพิการในหนังสือและภาพยนตร์ นำทีมวิทยากรโดยคุณยุทธพล ดำรงชื่นสกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมความพิการจังหวัดเชียงใหม่ คุณกัชกร ทวีศรี อุปนายกสมาคมวัฒนธรรมความพิการจังหวัดเชียงใหม่ คุณวลัยลักษณ์ จันทรัตน์ เลขาสมาคมวัฒนธรรมความพิการจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรภัทร กิตติวรากูล เป็นผู้ดำเนินรายการในการเสวนา 

การเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมความพิการให้แก่ผู้ฟังได้รับรู้และเข้าใจ และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในเชิงบวกให้กับผู้ที่เข้าร่วมรับฟัง  เวทีเสวนาได้ยกประเด็นเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมความพิการทั้งในหนังสือและภาพยนตร์  โดยสื่อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาแนะนำประกอบด้วยเนื้อหาที่สร้างแรงบันดาลใจอย่างหนังสือ ‘เดินด้วยใจไปกับมนุษย์ล้อมหัศจรรย์’ จากผู้เขียนโสภณ ฉิมจินดา ที่ลงมือทำงานเพื่อส่วนรวมด้วยจิตอาสาแบบข้ามผ่านข้อจำกัดทางร่างกาย  ทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนพิการและคนไม่พิการ เป็นต้น หนังสือ ‘Famous People’ ถูกแนะนำขึ้นในเวทีเสวนา โดยหนังสือเล่มนี้ได้รวมบุคคลพิการที่มีชื่อเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกาไว้อย่างเช่น George Washington ประธานาธิปดีคนแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้สร้างความตระหนักถึงความเท่าเทียมในสังคมของคนทุกสภาพร่างกาย

นอกจากนี้ ภาพยนตร์ที่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาในเวทีเสวนา เป็นภาพยนตร์จากประเทศเกาหลีเรื่อง ‘Silenced เสียงหัวใจที่ไม่มีใครได้ยิน’ ที่ได้เล่าถึงการล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียน การใช้ความรุนแรง และกระบวนยุติธรรมที่เพิกเฉยต่อผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน ทั้งหมดนี้ได้สะท้อนสังคมถึงบทบาทอำนาจที่มีไม่เท่ากันของคนพิการและคนไม่พิการ ไม่เพียงแค่ภาพยนตร์ที่สะท้อนภาพของคนพิการเท่านั้น  ภาพยนตร์อย่าง ‘X-Men’ ก็ได้ถูกพูดถึงในเวทีนี้ด้วยเช่นกัน ในแง่ของความพิเศษที่ผิดแผกจากปกติถูกตีค่าเป็นความแตกต่างหลากหลายและได้รับการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพอย่างเหมาะสม บนฐานคิดความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์

 ผศ.จิรภัทร ผู้ดำเนินรายการกล่าวทิ้งท้ายการเสวนาว่า  “วัฒนธรรมความพิการไม่ใช่เรื่องไกลตัว การที่เราสามารถรับทราบและเข้าใจในบริบทนี้ สังคมจะเกิดความเท่าเทียมอย่างแท้จริง และสามารถดึงศักยภาพที่สังคมสามารถพึ่งพาได้ออกมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข”  

 ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาคมวัฒนธรรมความพิการเชียงใหม่ได้ผ่านช่องทาง Facebook Fanpage ‘Disability Culture Chiangmai Association’ หรือ ‘ชมรมโกลบอลแคมปัสเชียงใหม่ ประเทศไทย’

เขียนเมื่อ 04 กรกฎาคม 2565 16:13:52 น. (view: 10339)

รูปภาพ-เอกสารประกอบ




FM100 CMU Logo
สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ 50200

Call us

On air : 053-942711-2
Office : 053-942710

Email & Fax

EMAIL : fm100@cmu.ac.th
          fm100cmu@yahoo.com

LINE :  FM100CMU 

 

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน
https://forms.gle/e4E3rYTnv3LvxcxN8

ติดตาม FM100 ได้ทุกช่องทาง

รับฟังรายการสดได้ทาง