News & Activity
ข่าวและกิจกรรม
ทต.แม่ข่า-ทต.ทุ่งหัวช้าง-เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่-สสส. ผนึกล้านนาฮอมสุข มัดปุ๊กสุขภาวะ
สานพลังชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ถอดบทเรียน 4 องค์กรหลัก ปัจจัยสู่ความสำเร็จ 4 เรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ การจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชน การดูแลเด็กปฐมวัย และการจัดการปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพโดย ชุมชนท้องถิ่น พร้อมต่อยอดขยายผลในพื้นที่อย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติคุ้มคำเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่เทศบาลตำบลแม่ข่า อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน ร่วมกับศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการ เครือข่ายพื้นที่ภาคเหนือ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ และสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวที“ล้านนาฮอมสุข มัดปุ๊กสุขภาวะ สานพลังชุมชน ท้องถิ่นน่าอยู่” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนการสร้างสุขภาวะชุมชนที่ยั่งยืนด้วยทุนทางสังคม และศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นสู่การบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ ซึ่งมีเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ 30 แห่ง จาก 1,264 แห่ง มีผู้เข้าร่วมกว่า 500 คน นายสืบศักดิ์เอี่ยมวิจารณ์ประธานกรรมการกำกับทิศทางของแผนสุขภาวะชุมชน พื้นที่ภาคเหนือ สสส. กล่าวว่า การจัดเวทีล้านนาฮอมสุขฯ ครั้งนี้ เพื่อสานพลังเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่พื้นที่ภาคเหนือ ร่วม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฏิบัติการสุขภาวะชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น และขยายผลแนวคิด และกำหนดทิศทางในการจัดการสุขภาวะชุมชนในระดับเครือข่ายให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งเทศบาลตำบล แม่ข่า และเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง รวมทั้งเครือข่าย เป็นต้นแบบที่มีรูปธรรมความสำเร็จจากการดำเนินงานที่ชัดเจน นายสืบศักดิ์เอี่ยมวิจารณ์กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะชุมชนเพื่อ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ คือ การมี4 องค์กรหลัก อันได้แก่ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.), ท้องที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน, องค์กรชุมชน เช่น กลุ่มสตรี ชมรมผู้สูงอายุ อสม., หน่วยงาน รัฐในพื้นที่เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) รวมทั้งองค์กรศาสนา และเน้นย้ำบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นที่เข็มแข็งใน 4 ข้อ คือ 1. ต้องทำงานร่วมกันได้ โดย “แสวงจุดร่วม...สงวนจุดต่าง” 2. ทุกองค์กรต้องทำภารกิจตนเองให้หนุนเสริมหน่วยงานอื่นจะทำให้เกิดการบูรณาการที่ไม่ใช่ทำงานแค่เสร็จ แต่ทำให้สำเร็จ 3. องค์กรภาคประชาชนต้องมีการรวมตัวเป็นเครือข่ายและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 4. ท้องถิ่นต้องดูแลประชากรทุกกลุ่มวัย และหนุนเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมให้ได้“โจทย์สำคัญที่อยากฝากให้กับผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่เข้าร่วมเวทีให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันสรุปบทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งการพัฒนาระบบการจัดการพื้นที่ และการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ ชุมชน 4 เรื่อง คือ 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2. การจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชน 3. การดูแลเด็ก ปฐมวัย และ 4. การจัดการปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพโดยชุมชนท้องถิ่น ให้ครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ 1. ปัจจัยสำคัญ สู่ความสำเร็จในการพัฒนา และ 2. ทิศทาง/แนวทางสู่การต่อยอดในพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป ”นายสืบศักดิ์กล่าว
เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2565 13:13:29 น. (view: 10337)