News & Activity

ข่าวและกิจกรรม

ชลประทานแจง วางแผนส่งน้ำสนับสนุนคลองแม่ข่า ปีละ 3 ล้าน ลบ.ม. ส่งให้ส่งช่วงแล้งเดือนละ 1 ล้าน ลบ.ม. เผยข้อมูลเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ยังไม่มีระบบรวบรวมน้ำเสียอีก 24 ตารางกิโลเมตร สถานียกระดับน้ำเสีย 8 สถานี เดินเครื่องได้แค่สถานีเดียว ไม่มีน้ำเสียไปบำบัด ส่ง

วันที่ 28 เม.ย. 66 เวลา 09.30 น. พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ประธานคระกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา พร้อมคณะ ที่ได้เดินทางมาศึกษาดูงานเพื่อติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนและน้ำเสียชุมชน พร้อมฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการบริหารจัดการปัญหาน้ำเสียชุมชนของคลองแม่ข่า โดยมีนายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายชนม์ฐพัฒน์ เครือศรี หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานเชียงใหม่ นายอิศเรศ สิทธิโรจนกุล ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่เทศบาลนครเชียงใหม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับและเข้าประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่



สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครเชียงใหม่ มีท่อรวบรวมน้ำเสียครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร ยังไม่มีระบบรวบรวมน้ำเสีย 24 ตารางกิโลเมตร มีสถานียกระดับน้ำเสีย 8 สถานี ทำหน้าที่ยกระดับน้ำเสียผ่านท่อระวบรวมน้ำเสีย จากนั้นนำน้ำเสียที่ได้ทั้งหมดส่งไปยังสถานีสูบน้ำเสียที่ 10 ตำบลป่าแดด สะพานข้ามแม่น้ำปิง วงแหวนรอบ 2 ประกอบด้วยเครื่องสูบน้ำแบบจุ่ม ขนาด 800 ลิตรต่อวินาที จำนวน 5 เครื่อง รวบรวมน้ำเสียทั้งหม ปัจจุบันมีสถานีสูบน้ำเพียง 1 สถานี ทำหน้าที่ส่งน้ำเสียผ่านท่อแรงดันไปยังโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ ส่วนปริมาณน้ำเสียที่เข้าสู่โรงบำบัด เดือน ม.ค. 66 จำนวน 1,166,443 ลบ.ม. เดือน ก.พ. 66 จำนวน 836,138 ลบ.ม. และเดือน มี.ค. 66 ที่ผ่านมา จำนวน 670,914 ลบ.ม. คิดค่าเฉลี่ยมีปริมาณน้ำเสียรายวันที่ 32,134 ลบ.ม.ต่อวัน



ในขณะที่เทศบาลนครเชียงใหม่ได้เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ และนำคลองแม่ข่าที่ปรับปรุงมาเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่สำหรับการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจให้กับจังหวัดเชียงใหม่ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้ว และได้รับกระแสตอบรับจากประชาชนชาวเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก



ทั้งนี้ นายชนม์ฐพัฒน์ เครือศรี หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้บรรยายสรุปข้อมูลถึงมาตรการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนให้สนับสนุนให้คลองแม่ข่า ทั้งการนำน้ำจากโครงการผันน้ำเขื่อนแม่งัดฯ - แม่แตง ส่งน้ำมาสนับสนุน 1 ลบ.ม.ต่อวินาที การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อให้มีแหล่งน้ำต้นทุนเพียงพอสนับสนุนคลองแม่ข่า การพัฒนาระบบกระจายน้ำใหห้มาเติมคลองแม่ข่าได้หลายช่องทาง การร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการปรับปรุงคลองแม่ข่า สร้างองค์ความรู้และการพัฒนาคลองแม่ข่าอย่างยั่งยืน รวมทั้งการบรรยายสรุปถึงแผนก่อนฤดูแล้งที่เป็นระยะเร่งด่วนช่วงเดือน พ.ย. - ธ.ค. ซึ่งในพื้นที่อำเภอแม่แตงจะะมีการเก็บเกี่ยวข้าว จึงมีการผันน้ำส่วนเหลือแยกเป็น 2 ส่วน ทั้งการนำเข้าคูเมืองทะลุลงแม่ข่าล้างคูคลอง การเก็บสต็อกน้ำสำรองในจุดยุทธศาสตร์สำคัญและแบ่งน้ำเป็นรอบเวรเพื่อนำลงสู่คลองแม่ข่า โโดยใช้สถานีสูบน้ำ เทศบาลนครเชียงใหม่ วันละ 6 ชั่วโมง ในช่วงวิกฤติ (เม.ย. - พ.ค.) ระยะเวลา 1 เดือน การติดตั้งกังหันน้ำชัยพัฒนา เพื่อเพิ่มค่าออกซิเจนในน้ำ สำหรับช่วงฤดูแล้ง/สงกรานต์ ได้ส่งน้ำจากคลองแม่แตงลงสู่อ่างแม่หยวก ไปเติมคลองแม่ข่า ผันน้ำเข้าคลอง 18 ซ้าย ไหลลงคูเมือง บริเวณแยกแจ่งหัวริน เพื่อระบายลงคลองแม่ข่า ผันน้ำจากคูเมืองเข้าสู่คลองแม่ข่าบริเวณประตูระบายน้ำศรีดอนไชย เพื่อให้เกิดระบบหมุนเวียนในการล้างคูคลอง ด้านแผนระยะสั้นได้มีการซ่อมแซมบำรุงรักษา ปรับปรุงอาคารควบคุมน้ำในคลองแม่ข่าทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการบางส่วนแล้ว มีแหล่งน้ำสำรองที่แก้มลิงข้างคลองแม่แตง บริเวณกองพลทหารราบที่ 7 กองพันสัตว์ต่าง การขุดลอกตะกอนในลำน้ำแม่ข่าและลำน้ำสาขา แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ ส่วนแผนระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับที่ทางคณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอแนวคิดไว้เรื่องการแยกน้ำดี / น้ำเสีย ก็ได้อยู่ในแผนระยะยาวที่วางไว้แล้ว โดยมีระบบผันน้ำแม่แตง ลงสู่เขื่อนแม่งัดฯ ส่งต่อมายังคลองแม่แตง มาเก็บไว้ที่อ่างก็บน้ำแม่หยวก ก่อนจะปล่อยลงสู่คลองแม่ข่า โดยกำหนดเป้าหมาย 3 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี เดือนละ 1 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ



ภายหลังจากการรับฟังบรรยายสรุปข้อมูล ทางคณะกรรมาธิการฯ จะได้รวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงไปใช้ประกอบการพิจารณาติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป

เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2566 15:57:58 น. (view: 10341)

รูปภาพ-เอกสารประกอบ




FM100 CMU Logo
สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ 50200

Call us

On air : 053-942711-2
Office : 053-942710

Email & Fax

EMAIL : fm100@cmu.ac.th
          fm100cmu@yahoo.com

LINE :  FM100CMU 

 

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน
https://forms.gle/e4E3rYTnv3LvxcxN8

ติดตาม FM100 ได้ทุกช่องทาง

รับฟังรายการสดได้ทาง