News & Activity
ข่าวและกิจกรรม
สสส.จับมือ GISTNORTH มช. และเครือข่ายทุกภาคส่วนเดินหน้าประสานพลังเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อการ รู้-รับ-ปรับตัว (resilience) จากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 พื้นที่ภาคเหนือ นักวิจัยยืนยัน pm2.5 ภัยอันตรายถึงชีวิต
สสส.จับมือ GISTNORTH มช. และเครือข่ายทุกภาคส่วนเดินหน้าประสานพลังเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อการ รู้-รับ-ปรับตัว (resilience) จากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 พื้นที่ภาคเหนือ นักวิจัยยืนยัน pm2.5 ภัยอันตรายถึงชีวิต
เชียงใหม่ 18 พ.ค.-ที่โรงแรมเซ็นทาราริเวอร์ไซด์ จ.เชียงใหม่ นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ประธานกรรมการกำกับทิศทางของแผนสุขภาวะชุมชน สสส.เป็นประธานเปิดเวที “เวทีวิชาการประสานพลังเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อการ รู้-รับ-ปรับตัว (resilience) จากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 พื้นที่ภาคเหนือ โดยศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ(GISTNORTH) คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดขึ้น โดยมี ดร.พลภัทร เหมวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์ GISTNORTH รายงานถึงวัตถุประสงค์ ในฐานะหัวหน้าโครงการจัดเวทีครั้งนี้ โดยมีวิทยากรเกี่ยวข้องร่วมในการ เสวนาวิชาการ “สานพลัง ร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในสังคมไทย”ประเด็น 1. สถานการณ์ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ในภาคเหนือและปัญหาหมอกควันข้ามแดน 2. แนวทางการจัดการปัญหาฝุ่น PM2.5 ในภาคเหนื่อ 3. กฎหมายและนโยบายสู่การแก้ไขปัญหาภัยฝุ่น PM2.5 โดยมี รศ.ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายสมคิด ปัญญาดี ผู้อำนวยการส่วนยุทธศาสตร์ สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่ ดำเนินการเสวนาโดย นายอาคม สุวรรณกันธา รองประธานกรรมการหอการค้าเชียงใหม่การบรยายพิเศษ “ผลกระทบจากภัยฝุ่น PM2.5” โดย ตร.ทิพวรรณ ประภามณฑล นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สำหรับเวทีการประสานพลังเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อการ รู้-รับ-ปรับตัว (Resilience)จากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 นี้จัดระหว่าง วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2566 โดยนายสืบศักดิ์กล่าวว่า สสส.เป็นผู้สนับสนุนเชื่อมโยงการทำงานให้ส่วนต่างๆ โดยมีเป้าหมายสร้างความเข้มแข็งของชุมชนที่มีการขับเคลื่อนมาต่อเนื่องและกำลังขยายจากชุมชนสู่ตำบล จังหวัดเป็นลำดับ เรื่องฝุ่นควัน pm2.5 สังคมเริ่มตระหนักมากขึ้น ซึ่งจอมรับว่ามีปัญหามานานและมีส่วนเกี่ยวข้องมีเหตุมีปัจจัยหลายอย่าง การทำงานด้านนี้จะสำเร็จได้ต้องร่วมมือกันจริงจังและที่สำคัญที่สุดคือชุมชน วันรี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ สสส.ช่วยขับเคลื่อนต่อยอดขยายผล เพราะปกติมีหลายส่วนงานที่ทำรวมทั้งฝ่ายวิชาการ การที่มาเชื่อมโยงทำงานร่วมกันจะทำให้การแก้ไขมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะที่ ดร.พลภัทร เหมวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์ GISTNORTH หัวหน้าโครงการกล่าวว่า ปัญหานี้ได้รับความสนใจมากขึ้นจากผลกระทบที่มากจึ้นแต่ก็มีเพียงกลุ่มเล็ก 20% ที่ตื่นตัวรู้และรับมือ อีก 80% ยังไม่รู้ จึงมีการสร้างเติมจุดนี้ ซึ่งได้ลงพื้นที่นำร่อง 12 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ของภาคเหนือเพื่อศึกษาเรียนรู้ทั้งพื้นที่ประสบภัยเกิดปัญหากับพื้นที่ไม่มีเหตุแต่ได้รับผลกระทบ 2-3 ปีจากข้อมูลที่ได้ก็สามารถสร้างทิศทางไว้ได้เป็น 6 โมดูล เพื่อนำไปขยายผลคือ Module 1 ให้ความรู้ทั่วไปและดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ฝุ่น PM2.5 คืออะไร, แหล่งกำเนิด, ผลกระทบจากฝุ่นด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม, ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมแนวทางในการปฏิบัติตน Module 2 เว็บแอพพลิเคชั่นแผนที่ออนไลน์ AQMRS การติดตามค่าความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 แบบ Near real-time (รายชั่วโมง-รายวัน) จุด Hotspot แยกตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลสถิติค่าฝุ่นและ Hotspot ย้อนหลัง Module 3 หน้ากากป้องกันฝุ่น ระดับประสิทธิภาพการประกันฝุ่นของหน้ากากประเภทต่างๆ, ขั้นตอนการสวมใส่หน้ากากแบบถูกต้อง, การตัดเย็บหน้ากากป้องกันฝุ่นแบบ Reuse Module 4 ห้องปลอดฝุ่นและมุ้งสู้ฝุ่น กลุ่มเป้าหมาย, กระบวนการทำงาน, วัสดุอุปกรณ์-ขั้นตอน, การดูแลรักษา Module 5 การบริหารจัดการไฟป่า เทคนิคการดับไฟป่า, อุปกรณ์การดับไฟป่าและการดูแลรักษา, การปฐมพยาบาลเบื้องต้น Module 6 การบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและขยะในครัวเรือน เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร (อ้อย-การไม่เผาใบอ้อย-ส่งเสริมการตัดอ้อยสด/ข้าว-ฟางอัดก้อนและไถกลบ/ข้าวโพด-ถ่านเชื้อเพลิงชีวมวล) ขยะในครัวเรือน (ปุ๋ยหมักไม่กลับกอง/ถังหมักรักษ์โลก Green Cone)
ด้าน ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล เผยว่า องค์ประกอบทางเคมีที่อยู่บนฝุ่น PM2.5 สามารถนำสารที่เกาะอยู่บนตัวฝุ่นเข้าสู่ร่างกายได้มากกว่า และลึกกว่า ในปริมาณความเข้มข้นเท่ากับ PM10 โดย PM2.5 จะมีพื้นผิวเยอะกว่าในน้ำหนักที่เท่ากัน เช่น 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ทำให้เรามีความกังวลเรื่องผลกระทบทางสุขภาพจากการสัมผัสฝุ่นจิ๋ว PM2.5 หรือฝุ่นที่เล็กกว่า ไม่ว่าจะเป็น PM1 หรือ PM0.1 (ฝุ่นนาโน) ที่จะเข้าไปในร่างกายลึกมากขึ้นไปอีก โดยสรุปจากผลการวิจัยถือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจมลพิษคือ สารพีเอเอชจากฝุ่นละอองที่ขับถ่ายจากร่างกายโดยการตรวจปัสสาวะ pm2.5 เป็นสาเหตของความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง และโรคระบบทางเดินหายใจ จากการทบทวนและวิเคราะห์ผลงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการแพทย์หลายชิ้นของผลกระทบต่อสุขภาพของฝุ่นละออง PM2.5 ชัดเจนว่า แม้ได้รับสัมผัสในปริมาณความเข้มข้นที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างสำคัญ ผลสรุปชี้ชัดถึงผลร้ายของ PM2.5 ต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจหลอดเลือด ระบบภูมิต้านทาน กระบวนการเผาผลาญในร่างกาย รวมถึงการทำงานของตับ ทำให้เกิดโรคทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังต่อหลายระบบการได้รับสัมผัส PM2.5 ในระยะยาวทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ตามด้วยภาวะผิดปกติต่าง ๆ ของหัวใจ และเสียชีวิตได้การได้รับสัมผัส PM2.5 แม้ในระยะเวลาสั้น ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลันได้และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการตายของกล้ามเนื้อหัวใจและภาวะผิดปกติอื่น ๆ รวมทั้งภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันการได้รับสัมผัส PM2.5 ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาสั้นเพิ่มอัตราตายจากโรคทางเดินหายใจได้อัตราเสี่ยงต่อการเกิด metabolic syndrome การเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 และการเพิ่มของระดับไขมันจะเพิ่มขึ้นจากการการได้รับสัมผัส PM2.5 ในระยะยาวการได้รับสัมผัส PM2.5 พบว่าทำให้เกิดโรคผิวหนัง โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบในวัยเยาว์ โรคมัลติเปิลสเกลอโรสิสภาวะไขมันพอกตับ มะเร็งปอดและมะเร็งชนิดอื่นๆ หากสัมผัสฝุ่นพิษซ้ำ ๆ ร่างกายทำการซ่อมแซมไม่ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง อาจส่งผลให้มีการทำลายเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้น เพิ่มความรุนแรงของโรค และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในอนาคตซึ่งกลไกการเกิดโรคของมลพิษทางอากาศ และ PM2.5 มีกระบวนการหลักสำคัญคือ ภาวะเครียดจากออกซิเดชั่น(oxidative stress) การอักเสบ(inflammatory response) โดยผ่านสารไซโตไคน์ชนิดต่างๆ และความเป็นพิษต่อยีน (genotoxicity) ในเซลล์ต่าง ๆ กัน ก่อให้เกิดสารพิษโฮโมซีสเทอีน และสารก่อมะเร็งอีกหลายชนิด ความเข้าใจในกลไกการเกิดโรคเหล่านี้อย่างเป็นระบบจะนำไปสู่การจัดกระบวนการรักษาที่ตรงจุดต่อไป.
เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566 18:00:04 น. (view: 10338)