News & Activity

ข่าวและกิจกรรม

สสจ.เชียงใหม่ เปิดประชุมศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) กรณีโรคติดต่อนำโดยยุงลาย เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาด “ไข้เลือดออก” จังหวัดเชียงใหม่



วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566  นายแพทย์จตุชัย มณีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดประชุมศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) กรณีโรคติดต่อ

นำโดยยุงลาย จังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมศรีเวียงพิงค์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ 

จากกรณีที่มีการคาดการณ์ว่าในปี 2566 ประเทศไทยจะพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้นตามวงรอบของปีที่จะระบาด โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 11 กรกฎาคม 2566 พบรายงานผู้ป่วยจำนวน 1,805 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน 88.93 เสียชีวิต 2 ราย พื้นที่ได้พบการระบาดมากที่สุด ได้แก่ อำเภอแม่อาย อำเภอเชียงดาว อำเภอไชยปราการ อำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอแม่ริม โดยพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 25-34 ปี  , กลุ่มอายุ 15-24 ปี และ

กลุ่มอายุ 10-14 ปี

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวที่ จึงได้เปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ และดำเนินการไปพร้อมกับหน่วยงานเครือข่าย เพื่อระดมสรรพกำลังและทรัพยากร เข้ามาจัดการป้องกันควบคุมโรคให้เกิดประสิทธิผล

ให้ได้มากที่สุด ได้เปิดประชุมศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) กรณีโรคติดต่อนำโดยยุงลาย จังหวัดเชียงใหม่ เร่งรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน ในวาระการประชุมมีการวิเคราะห์และนำเสนอสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จากกลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ , สาธารณสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่ระบาดอำเภอทั้ง 25 อำเภอ โดยที่ประชุม

มีข้อสั่งการมอบหมายให้ทุกอำเภอดำเนินการควบคุมไข้เลือกออก และลงพื้นที่ควบคุมการระบาดโดยเน้น

ให้ทุกพื้นที่มีดัชนีลุกน้ำยุงลายเท่ากับศูนย์ให้เร็วที่สุด ,  ให้ทุกอำเภอใช้มาตรการควบคุมไข้เลือดออก 

ถึงโรงเรียนและวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละอำเภอ โดยแต่งตั้ง อสม.ในโรงเรียน และ อสม.ในวัด 

เพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการ จัดการ สำรวจ และควบคุม ค่า HI ,CI ในโรงเรียนและวัด , ให้จัดทำระบบการรายงานข้อมูลที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ และข้อมูลที่นำเสนอให้กับประชาชนให้สามารถเข้าใจเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อที่จะประกอบเป็นข้อสั่งการในการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ควบคุมการระบาดสำเร็จ (Green Zone) ให้เฝ้าระวังโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ ดำเนินการสุ่มสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์ เน้นสถานการณ์ที่สำคัญ เช่น วัด โรงเรียน ตลาด เป็นต้น  และให้จัดประชุมเพิ่มองค์ความรู้วิชาการ แก่ทีมป้องกันควบคุมโรคในระดับอำเภอ/ตำบล หน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับรับทราบสถานการณ์ ทั้งยังขอความร่วมมือหน่วยงานราชการทุกภาคส่วน  ให้ความร่วมมือควบคุมป้องกันโรค





ทั้งนี้ ประชาชนควรสังเกตอาการของตนเองและครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก หรือผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุ หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลันนานเกินกว่า 2 วันร่วมด้วยกับอาการอ่อนเพลีย 

ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร หน้าแดง ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม ไม่ควรซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยาในกลุ่มที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หยุดยาก รวมถึงภาวะตับวาย เช่น ยาแอสไพริน 

ไอบูโพรเฟน และ ไดโคลฟีแนค สำหรับร้านขายยาและคลินิก ควรแนะนำผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถามข้อมูลได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 หรือ กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โทร 053 211048-50 ต่อ 110

เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2566 16:51:35 น. (view: 10337)

รูปภาพ-เอกสารประกอบ




FM100 CMU Logo
สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ 50200

Call us

On air : 053-942711-2
Office : 053-942710

Email & Fax

EMAIL : fm100@cmu.ac.th
          fm100cmu@yahoo.com

LINE :  FM100CMU 

 

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน
https://forms.gle/e4E3rYTnv3LvxcxN8

ติดตาม FM100 ได้ทุกช่องทาง

รับฟังรายการสดได้ทาง