News & Activity
ข่าวและกิจกรรม
ใกล้ความจริง เชียงใหม่เดินหน้า ระดมความคิดเห็นทุกภาคส่วน เพื่อปรับปรุง ร่างเอกสารข้อเสนอ (Draft Nomination Dossier)ให้สมบูรณ์ กลับให้ศูนย์มรดกโลก UNESCO พิจารณา
ใกล้ความจริง เชียงใหม่เดินหน้า ระดมความคิดเห็นทุกภาคส่วน เพื่อปรับปรุง ร่างเอกสารข้อเสนอ (Draft Nomination Dossier)ให้สมบูรณ์ กลับให้ศูนย์มรดกโลก UNESCO พิจารณา
เชียงใหม่ 6 พ.ย.-ที่ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเวทีประชุมรับฟังความเห็นทุกภาคส่วนในการจัดทำแผนการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกและคุณค่าเมืองเชียงใหม่ - ดอยสุเทพ เพื่อขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลก หลังจากที่ได้รับเอกสารกลับจากศูนย์มรดกโลก ณ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการปรับปรุง ร่างเอกสารข้อเสนอ (Draft Nomination Dossier) ที่ถูกจัดส่งไปเพื่อตรวจสอบความถูกต้องครั้งที่ 1 ทั้งนี้คณะทำงานโครงการฯ ได้จัดทำสรุปข้อปรับปรุงและข้อเสนอให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่แล้วเสร็จตามกระบวนการ ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2562 คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการต่อเนื่องภายใต้การกำกับของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาเชียงใหม่ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเอกสารข้อเสนอฯ จากฉบับร่างดังกล่าว ให้มีความสมบูรณ์ และเริ่มต้นกระบวนการจัดทำแผนการจัดการแหล่งมรดกโลก (management plan) รวมถึงดำเนินการพัฒนาเครือข่าย การขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลกให้เกิดขึ้น กับกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่แหล่งมรดกดังกล่าวนี้ด้วย จึงได้มีการจัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น เพื่อจัดทำแผนการจัดการมรดกโลก แผนอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกและคุณค่าเมืองเชียงใหม่-ดอยสุเทพ ในกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มสำคัญ คือองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ระหว่างวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2562
รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคมและหัวหน้าโครงการ เมืองเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลก กล่าวว่า การจัดประชุมทำแผนครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ต่อการจัดทำ เอกสาร ข้อเสนอดังกล่าว ที่จะให้กับทาง ศูนย์มรดกโลก วิธีครั้งนี้ จะมีการทำกิจกรรม workshop อบรมให้ความรู้ กิจกรรมสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และพัฒนาเมือง การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม เรื่องคุณค่าในทุกช่องทาง เช่น คุณค่าทางด้านการวางผังเมือง คุณค่าด้านวัฒนธรรมประเพณีล้านนา คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนา ทั้งนี้ โครงการเมืองเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลก มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนคือ ต้องเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต รักษาคุณค่าอันโดดเด่น ที่เป็นสากลของระบบนิเวศ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พัฒนาบนความสมดุลและยั่งยืนของระบบนิเวศสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการช่วยกันปกปักรักษาคุณค่าอันโดดเด่นเหล่านี้ ตามแนวคิดขององค์การ UNESCO ที่จะคำนึงถึงความครบถ้วนสมบูรณ์ ความเป็นทอดจริงแท้ ของเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่และดอยสุเทพ มีการสร้างกลไกที่ชัดเจนในการจัดการด้านการอนุรักษ์และพัฒนา ให้เป็นเมืองที่มีชีวิตมีความสมดุลและมีความยั่งยืนไปพร้อมกัน เช่นการผลักดันเมืองเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลก ในช่วงระยะเวลาการเมืองการตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน ถือว่ามีความก้าวหน้า ไปตามลำดับ ล่าสุดขณะนี้อยู่ภายใต้โครงการขับเคลื่อนของปีงบประมาณ 2562 ที่จะดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม 2562 ถึง 31 มกราคม 2563 เพื่อนำร่างเอกสารข้อเสนอส่งให้ องค์การ UNESCO ศูนย์มรดกโลก ณ นครปารีสต่อไป
เขียนเมื่อ 07 พฤศจิกายน 2562 02:35:04 น. (view: 10336)