News & Activity
ข่าวและกิจกรรม
เชียงใหม่ สั่งแก้ไขปัญหาระยะยาว ในเวทีถอดบนเรียนอุทกภัย อ.ฝางและแม่อาย ปี 67
จังหวัดเชียงใหม่ ประชุมถอดบทเรียนอุทกภัย ปี 2567 ในพื้นที่อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย พร้อมสั่งการทำแผนแก้ไขระยะยาว เนื่องจากดอยผ้าห่มปกเป็นภูเขาดิน สูงเป็นอันดับ 2 ของไทย และยังเป็นพื้นที่เสี่ยงจะเกิดอุทกภัยซ้ำ
.
วันนี้ (20 พ.ย.67) ที่ห้องประชุม 3 ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุมถอดบทเรียนอุทกภัย ปี 2567 ในพื้นที่อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายดุสิต พงศาพิพัฒน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ได้รายงานว่า วันนี้นับเป็นครั้งแรกที่จัดเวทีเพื่อถอดบทเรียนอุทกภัย ปี 2567 หลังเกิดเหตุสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม จากผลกระทบพายุ "ยางิ" เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 สิ้นสุดภัย 30 กันยายน 2567 ในเหตุนี้ส่งผลให้ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 2 อำเภอ 11 ตำบล 89 หมู่บ้าน 14,888 ครัวเรือน พื้นที่เกษตร 5,210 ไร่ ปศุสัตว์ 100 ตัว ประมง 35 บ่อ และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 6 ราย บาดเจ็บอีก 3 ราย จังหวัดเชียงใหม่จึงได้มีการถอดบทเรียน การดำเนินการตั้งแต่ การเตรียมความพร้อมก่อนการเกิดภัย การเผชิญเหตุ การช่วยเหลือและฟื้นฟู เพื่อนำบทเรียน ข้อดี ข้อเสีย และปัญหา อุปสรรคต่างๆ ของการรับมือสถานการณ์ในพื้นที่อำเภอฝางและแม่อายที่ผ่านมา นำมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนการรับมืออย่างยั่งยืน
.
ด้านนางสลีลญา คำภาแก้ว นายอำเภอแม่อาย เปิดเผยว่า ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอแม่อายเป็นพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยดินโคลนถล่ม เนื่องจากเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ประชาชนอาศัยในพื้นที่ภูเขาที่สูงชัน ซึ่งเป็นภูเขาดิน ที่มีความสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ดังนั้น เมื่อเกิดสถานการณ์จากพายุ "ยางิ" ทำให้เกิดดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ ส่งผลกระทบให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในช่วงเผชิญเหตุทุกภาคส่วนในอำเภอแม่อาย ได้มีการระดมพลทำงานเป็นทีม และมีความเข้มแข็ง จึงสามารถเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
.
ด้านอำเภอฝาง ได้รายงานถึงสภาพปัญหาในช่วงอุทกภัย ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากน้ำในเขื่อนแม่มาวไหลลงดอยผ้าห่มปก และมีปริมาณฝนตกหนักสะสมมาก ประกอบกับลำน้ำฝางตื้นเขิน ทำให้เกิดน้ำไหลหลาก เข้าสู่พื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน ในช่วงเผชิญเหตุ หน่วยงานทุกภาคส่วนของอำเภอฝางได้บูรณาการให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างรวดเร็ว และหลังเกิดเหตุในช่วงฟื้นฟู ผู้นำท้องถิ่นได้มีการดำเนินการลงพื้นที่และสำรวจความเสียหาย พร้อมจัดทำเอกสารอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนอำเภอฝางได้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือ 1,250 ครัวเรือน เสร็จเรียบร้อยเป็นลำดับต้นๆ
.
ในโอกาสนี้ นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีข้อสั่งการให้ อำเภอฝาง และแม่อาย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงการชลประทานเชียงใหม่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันทำแผนป้องกัน เพื่อลดความสูญเสียจากเหตุอุทกภัย พร้อมทั้ง ทำแผนหลังจากการถอดบทเรียน โดยให้อำเภอแม่อาย จัดทำแผนฟื้นฟูดินในพื้นที่ให้มีต้นไม้ยึดผิวดิน เพื่อสร้างความแข็งแรงให้หน้าดิน ,ทำแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เกษตร ,ให้เจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่ก่อสร้าง และสวนส้ม ที่อาจจะส่งผลกระทบทางน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมขัง และในส่วนของอำเภอฝางขอให้ถอดบทเรียนประสิทธิภาพของเขื่อนแม่มาว พร้อมทั้งหาวิธีการรับมือเขตอุทกภัยในอนาคต
ทั้งนี้ ก็ขอชื่นชมการทำงานที่เข้มแข็งของหน่วยงานในพื้นที่อำเภอฝางและแม่อาย ที่ทำให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ตั้งแต่การทำงานในขั้นการเผชิญเหตุ และขั้นการฟื้นฟู
.
**************************
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่...ภาพ/ข่าว
20 พฤศจิกายน 2567
เชียงใหม่ สั่งแก้ไขปัญหาระยะยาว ในเวทีถอดบนเรียนอุทกภัย อ.ฝางและแม่อาย ปี 67
.
จังหวัดเชียงใหม่ ประชุมถอดบทเรียนอุทกภัย ปี 2567 ในพื้นที่อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย พร้อมสั่งการทำแผนแก้ไขระยะยาว เนื่องจากดอยผ้าห่มปกเป็นภูเขาดิน สูงเป็นอันดับ 2 ของไทย และยังเป็นพื้นที่เสี่ยงจะเกิดอุทกภัยซ้ำ
.
วันนี้ (20 พ.ย.67) ที่ห้องประชุม 3 ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุมถอดบทเรียนอุทกภัย ปี 2567 ในพื้นที่อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายดุสิต พงศาพิพัฒน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ได้รายงานว่า หลังเกิดเหตุสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม จากผลกระทบพายุ "ยางิ" เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 สิ้นสุดภัย 30 กันยายน 2567 ในเหตุการณ์นี้ส่งผลให้ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 2 อำเภอ 11 ตำบล 89 หมู่บ้าน 14,888 ครัวเรือน พื้นที่เกษตร 5,210 ไร่ ปศุสัตว์ 100 ตัว ประมง 35 บ่อ และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 6 ราย บาดเจ็บอีก 3 ราย จังหวัดเชียงใหม่จึงได้มีการถอดบทเรียน การดำเนินการตั้งแต่ การเตรียมความพร้อมก่อนการเกิดภัย การเผชิญเหตุ การช่วยเหลือและฟื้นฟู เพื่อนำบทเรียน ข้อดี ข้อเสีย และปัญหา อุปสรรคต่างๆ ของการรับมือสถานการณ์ในพื้นที่อำเภอฝางและแม่อายที่ผ่านมา นำมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนการรับมืออย่างยั่งยืน
.
ด้านนางสลีลญา คำภาแก้ว นายอำเภอแม่อาย เปิดเผยว่า ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอแม่อายเป็นพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยดินโคลนถล่ม เนื่องจากเป็นพื้นที่ต้นน้ำ ประชาชนอาศัยในพื้นที่ภูเขาที่สูงชัน ซึ่งเป็นภูเขาดิน ที่มีความสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ดังนั้น เมื่อเกิดสถานการณ์จากพายุ "ยางิ" ทำให้เกิดดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ ส่งผลกระทบให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในช่วงเผชิญเหตุหน่วยงานทุกภาคส่วนในอำเภอแม่อาย ได้มีการระดมพลทำงานเป็นทีม และมีความเข้มแข็ง จึงสามารถเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
.
ด้านอำเภอฝาง ได้รายงานถึงสภาพปัญหาในช่วงอุทกภัย ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากน้ำในเขื่อนแม่มาวไหลลงดอยผ้าห่มปก และมีปริมาณฝนตกหนักสะสมมาก ประกอบกับลำน้ำฝางตื้นเขิน ทำให้เกิดน้ำไหลหลาก เข้าสู่พื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน ในช่วงเผชิญเหตุ หน่วยงานทุกภาคส่วนของอำเภอฝางได้บูรณาการให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างรวดเร็ว และหลังเกิดเหตุในช่วงฟื้นฟู ผู้นำท้องถิ่นได้มีการดำเนินการลงพื้นที่และสำรวจความเสียหาย พร้อมจัดทำเอกสารอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนอำเภอฝางได้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือ 1,250 ครัวเรือน เสร็จเรียบร้อยเป็นลำดับต้นๆ
.
ในโอกาสนี้ นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีข้อสั่งการให้ อำเภอฝาง และแม่อาย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงการชลประทานเชียงใหม่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันทำแผนป้องกัน เพื่อลดความสูญเสียจากเหตุอุทกภัย พร้อมทั้ง ทำแผนหลังจากการถอดบทเรียน โดยให้อำเภอแม่อาย จัดทำแผนฟื้นฟูดินในพื้นที่ให้มีต้นไม้ยึดผิวดิน เพื่อสร้างความแข็งแรงให้หน้าดิน ,ทำแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เกษตร และให้เจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่ก่อสร้าง และสวนส้ม ที่อาจจะส่งผลกระทบทางน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ในส่วนของอำเภอฝางขอให้ถอดบทเรียนประสิทธิภาพของเขื่อนแม่มาว พร้อมทั้งหาวิธีการรับมือเขตอุทกภัยในอนาคต ทั้งนี้ ก็ขอชื่นชมการทำงานที่เข้มแข็งของหน่วยงานในพื้นที่อำเภอฝางและแม่อาย ที่ทำให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ตั้งแต่การทำงานในขั้นการเผชิญเหตุ และขั้นการฟื้นฟู
.
**************************
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่...ภาพ/ข่าว
20 พฤศจิกายน 2567
เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2567 15:13:12 น. (view: 85)