News & Activity

ข่าวและกิจกรรม

แพทย์ มช.จับมือ IBM เพิ่มศักยภาพงานใช้โปรแกรม watsonx ai แห่งแรกแห่งเดียวในอาเซียน



แพทย์ มช.จับมือ IBM เพิ่มศักยภาพงานใช้โปรแกรม watsonx ai แห่งแรกแห่งเดียวในอาเซียน



เชียงใหม่ 13 ธ.ค.- ที่อาคารสุจิณฺโณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการแถลงความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ IBM ด้าน watsonx auto ai New Chapter MED CMU Healthcare ที่แรกและแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการใช้โปรแกรม watsonx ai สู่การแพทย์ยุคใหม่ โดยทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซียงใหม่ ได้ร่วมกับ ไอบีเอ็ม (NYSE:(BM) แถลงความร่วมมือโครงการนำร่องใช้เทคโนโลยี Generative AI สนับสนุนการวินิจฉัยและการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอัตโนมัติครบวงจร บนพื้นฐานของข้อมูลที่โปร่งใสเชื่อถือได้ภายได้ระบบธรรมภิบาล AI (AI Governance) มาตรฐานโลก ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการลดเวลาการรอรับบริการของผู้ป่วย พร้อมสนับสนุนการตัดสินใจของแพทย์ด้วยข้อมูลเชิงลึกรอบด้านที่ถูกต้องแม่นยำ สร้างความมั่นใจ เพิ่มคุณภาพและเพิ่มความรวดเร็วในการรักษา



ทั้งนี้โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ดำเนินงานภายใต้ คณะแพพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ มีเตียงผู้ป่วย 1,400 เตียง ได้รับการรับรองมาตรฐาน AHA 2 ครั้ง ได้รับการรับรอง PDSC 16 โปรแกรม และทาง HAIT ระดับ 2 เป็นที่แรกของโรงพยาบาลรัฐบาล มุ่งเน้นการเป็นโรงพยาบาลในดวงใจ ด้วยกลยุทธ์การเป็นเลิศด้านบริการผ่านระบบ Digital Transformation

โครงการความร่วมมือนี้ถือเป็นอีกก้าวความสำเร็จต่อเนื่องจากการเปิดตัวห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ระบบอัตโนมัติแบบครบวงจรของทางโรงพยาบาลฯ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ที่เชื่อมโยงกระบวนการไร้รอยต่อ แห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงได้

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า ความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงไหม่ กับ ทีม IBM Client Engineering ในการพัฒนาโมเดลด้วย watsonx.data และ watsonx.ai เพื่อสนับสนุนและผนวกการทำงานของระบบปฏิบัติการทางการแพทย์หรือแล็บต่างๆ เข้าด้วยกันแบบครบวงจร โดยเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลัง ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการต่างๆและงานวิจัยทางการแพทย์ เพื่อวิเคราะห์เชิงลึกและเป็นข้อมูลประกอบสนับสนุนการวินิจฉัยของแพทย์และเอื้อให้แพทย์สามารถส่งคำสั่งตรวจแล็บเพิ่มเติมได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการป้อนข้อมูลแบบระบบมือ (Maกบa)) นอกจากนี้ ระบบยังสามารถเชื่อมโยงตารางการให้บริการของแล็บอัตโนมัติพร้อมบริหารจัดการผลตรวจให้พร้อมสำหรับการนัดหมายติดตามอาการของแพทย์ในครั้งต่อไป

นอกจากระบบดังกล่าวจะลดความผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลระบบมือ (Manual)และการส่งต่อข้อมูลข้ามระบบแล้ว ยังเชื่อมโยงการตรวจแล็บต่างๆ อาทิ การตรวจเลือด การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ฯลฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความถี่ในการมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น ขณะเดียวกันการบริหารจัดการการนัดหมายและการตรวจเพิ่มเติมต่างๆอย่างครบวงจรยังช่วยลดเวลาการรอของผู้ป่วยลงได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นองค์กรนำร่องแห่งแรกในการนำเทคโนโลยีทั้งหมดมาใช้และให้ความสำคัญกับการวางรากฐานของข้อมูลที่ถูกที่ถูกต้องเชื่อถือได้ (trusted data) ปราศจากอคติ โดยมองถึงการนำระบบธรรมภิบาล AI มาใช้ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและความแม่นยำของระบบ AI (trustworthy Al) ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยที่ใช้บริการที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มช. ได้นำร่องการนำ AutoAI มาช่วยสนับสนุนการพัฒนาแอพบริการผู้ป่วยและการรักษาในอนาคตของทีมนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลของคณะแพทยศาสตร์ มช. โดยช่วยสนับสนุนการเขียนโค้ด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและร่นระยะเวลาในการพัฒนาแอพต่างๆ

รองรับการสนับสนุนการรักษาและการบริการคนไข้ในอนาคต สอดคล้องกับพันธกิจหลักของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ นับเป็นอีกก้าวย่างความสำเร็จที่เกิดขึ้นในวันนี้รวมถึงแผนงานต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ สอดคล้องวิสัยทัศน์ที่ต้องการสร้างความเป็นเลิศในการบริการ การรักษา ต่อยอดไปถึงการวิจัยพัฒนาไม่เพียงแต่ในเชียงใหม่หรือประเทศไทย แต่ยังก้าวนำในระดับอาเซียน เพื่อประสิทธิภาพ คุณภาพและความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ เทคโนโลยี AI ระดับโลกอย่าง watsonx ถือเป็นสิ่งที่ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย ทั้งในแง่ความน่าเชื่อถืปลอดภัยและโปร่งใสของระบบ และการให้บริการสุขภาพที่ได้มาตรธานระดับสากลตามนโยบายการก้าวสู่ Digital faculty



“วันนี้ไม่มีใครปฏิเสธความสามารถของเทศโนโลยี โดยเฉพาะ A) แต่สิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คือการให้ความสำคัญด้าน digtal platform กับระบบ AI และข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีความเที่ยงตรง และอยู่ในกรอบธรรมาภิบาลด้านการแพทย์ เพราะเป็นสิ่งที่จะสะท้อนผ่านคุณภาพการรักษาและการบริการผู้ป่วยโดยตรง”



รศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนฤมิต ผอ.รพ.สวนดอกระบุว่า หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น โรงพยาบาลก็พยายามพัฒนาศักยภาพงานบริการโดยเฉพาะการมุ่งสู่ digital platformที่จะใช้นวัตกรรมเครื่องมือต่างๆในการอ่านวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความแม่นยำมากขึ้นกว่าเดิม โดยการใช้ระบบ AI มาช่วยซึ่งก็มีความจำเป็นต้องเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ความร่วมมือกับ IPM ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะพัฒนาศักยภาพในด้านนี้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่สำคัญก็คือเพื่อประโยชน์ของประชาชนผู้มาใช้บริการ



นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า วิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของทีมแพทยศาสตร์ฯ ได้สะท้อนให้เห็นในความสำเร็จของการนำร่องในวันนี้และจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพการบริการและการรักษาให้กับโรงพยาบาลทั้งในไทยและอาเซียนต่อไป ซึ่งทาง IBM ในฐานะที่พัฒนาระบบด้านนี้ก็พร้อมในภารกิจร่วมมือกันยกระดับคุณภาพการบริการการแพทย์อำนวยความสะดวกกับประชาชนอย่างเต็มที่.

เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2567 15:25:22 น. (view: 10341)

รูปภาพ-เอกสารประกอบ




FM100 CMU Logo
สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ 50200

Call us

On air : 053-942711-2
Office : 053-942710

Email & Fax

EMAIL : fm100@cmu.ac.th
          fm100cmu@yahoo.com

LINE :  FM100CMU 

 

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน
https://forms.gle/e4E3rYTnv3LvxcxN8

ติดตาม FM100 ได้ทุกช่องทาง

รับฟังรายการสดได้ทาง