News & Activity

ข่าวและกิจกรรม

ปศุสัตว์เชียงใหม่ ยกระดับมาตรการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดเชียงใหม่ ยกระดับมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ตรวจเข้มป้องกันการลักลอบนำสุกรเข้ามาในประเทศ 



วันนี้ (11 ส.ค. 63) นายพงศ์พัฒน์ ขัตพันธ์ ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ ของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ ว่า  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ทำให้ต้องมีการคัดทิ้งและทำลายสุกรไปแล้วกว่า 200 ล้านตัว สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกรเป็นอย่างมาก และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เพื่มเติมที่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงที่เชื้อไวรัสจะแพร่เข้าสู่ประเทศมากยิ่งขึ้น



สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดเชียงใหม่ จึงยกระดับมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร โดยใช้เครือข่ายการเฝ้าระวังในพื้นที่ พร้อมทั้งเร่งปรับปรุงข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในแอปพลิเคชั่น E-smart plus และพัฒนาฟาร์มตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ รวมทั้งเน้นย้ำให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการใช้เศษอาหารในการเลี้ยงสุกร รวมทั้งมีการสุ่มตรวจตัวอย่างเพื่อหาเชื้อในสุกรตามฟาร์ม โรงฆ่าสัตว์ และเขียงหมูเป็นประจำทุกเดือนอีกด้วย 



นอกจากนี้ ยังเข้มงวดในการจับกุมป้องกันการลักลอบนำสุกรและซากสุกรจากพื้นที่ระบาดเข้ามาในประเทศ  หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งขอความร่วมมือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ตลอดจนผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้ เข้าใจและตระหนักถึงความรุนแรงของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และแนวทางในการป้องกันโรค หากพบสุกรหรือหมูป่าป่วยตายผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อตรวจวิเคราะห์โรคทันที

เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2563 22:29:36 น. (view: 7273)

รูปภาพ-เอกสารประกอบ




FM100 CMU Logo
สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ 50200

Call us

On air : 053-942711-2
Office : 053-942710

Email & Fax

EMAIL : fm100@cmu.ac.th
          fm100cmu@yahoo.com

LINE :  FM100CMU 

 

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน
https://forms.gle/e4E3rYTnv3LvxcxN8

ติดตาม FM100 ได้ทุกช่องทาง

รับฟังรายการสดได้ทาง