News & Activity
ข่าวและกิจกรรม
TCELS จับมืออุทยานวิทย์ฯ มช. เปิดตัวโครงการ “การพัฒนาพื้นที่สุขภาพดิจิตอลภาคเหนือเพื่อการ ขับเคลื่อนสู่เชียงใหม่เมืองสุขภาพ" สร้าง Deep Tech Startup ตอบโจทย์แก้ปัญหาด้านสุขภาพ เตรียมพร้อมยกระดับเวชนครเชียงใหม่
วันที่ 12 มีนาคม 2562 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับอุทยาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิธีเปิดตัวโครงการ “การพัฒนาพื้นที่สุขภาพดิจิตอล ภาคเหนือเพื่อการขับเคลื่อนสู่เชียงใหม่เมืองสุขภาพ" (Northern Digital Health Revolution to Chiang Mai Medical and Health Hub) ภายใต้แนวคิด Make Healthcare Driven by Innovation โดยมี ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ที่บริเวณชั้น 5 @Nimman Convention Centre โครงการ One Nimman จ.เชียงใหม่ เพื่อผลักดันให้ จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองสุขภาพที่มีบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขท่ีครบครัน ส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพ ชีวิตของประชากรในพื้นที่ผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการและแก้ปัญหาด้านสุขภาพของคนใน จังหวัดผ่านเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศโดยผู้ประกอบการและ Startup ของภาคเหนือที่มีศักยภาพ ท้ังนี้ ใน งานดังกล่าวยังได้จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษภายใต้หัวข้อ The Future of Healthcare is Digital โดยเชิญ ผศ.นพ. ก่อพงศ์ รุกขพันธ์ ผู้สร้างชื่อให้กับโรงพยาบาลปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ด้วยการเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของ ประเทศไทยท่ีได้รับมาตรฐานระดับสูงในการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับบริการดูแลผู้ป่วย เทียบช้ันกลุ่มโรงพยาบาล ช้ันนำของโลก พร้อมจัดแสดงผลงานนวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพเพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจอีกด้วย
ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อานวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า พื้นท่ี ภาคเหนือและจังหวัดเชียงใหม่นับเป็น Ecosystem ที่ดีในการพัฒนาพื้นที่สุขภาพดิจิตอล เพราะเป็นจังหวัดยอด นิยมในด้านการท่องเที่ยวท่ีมีจุดเด่นทางด้านธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของความเป็นล้านนา อีก ท้ังภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ยังมีความตื่นตัวและสนใจในการผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน เช่ือมโยงเครือข่าย ผู้เช่ียวชาญด้านสาธารณสุขรวมถึงนักลงทุนเพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการท่ีตอบสนองความต้องการและ แก้ปัญหาทางด้านสุขภาพและสาธารณสุขได้จริง โดยเป็นผู้นำการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขท่ีครบวงจร พร้อมรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ของประเทศไทยในอนาคต
ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า อุทยานฯ ดำเนินงานเป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้และข่าวประชาสัมพันธ์ งานวิจัยที่สาคัญ ผ่านกลไกผลักดันนางานวิจัยจากร้ัวมหาวิทยาลัยไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์ เช่ือมโยงภาคมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน (University Industry Linkage) โดยได้รับการสนับสนุนความร่วมมือ จากคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยซึ่งเกี่ยวข้องทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบด้วย คณะ แพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะ วิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยท่ีมีศักยภาพและเป็นประโยชน์ สามารถนำมาพัฒนาต่อ ยอดเพื่อคนเชียงใหม่และในพื้นที่ภาคเหนือ นอกจากน้ี อุทยานฯ ยังมีพันธกิจการบ่มเพาะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ให้มีศักยภาพและมีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับประเทศและสากล โดยวางเป้าหมายในการทำโครงการฯ เพื่อกระตุ้นและผลักดันการสร้างสตาร์ทอัพทางด้านการแพทย์ (Medical and Healthcare Startup) ตั้งแต่ต้นน้ำ Upstream ซึ่งจะเป็นสตาร์ทอัพท่ีมีศักยภาพโดยพัฒนามาจาก Core Technology หรืองานวิจัยในมหาวิทยาลัย ผ่านการพัฒนาต่อยอดร่วมกับเทคโนโลยีด้านดิจิทัล เกิดเป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ เพื่อ ประโยชน์ในการเข้าถึงการให้บริการและการใช้งาน โดยคำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลัก เพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาทางด้านการ บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้กับคนในพื้นท่ีได้อย่างท่ัวถึง โดยส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจใน พื้นท่ีและในระดับประเทศ ให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ตลอดจนพัฒนาให้เมืองเชียงใหม่มีความพร้อมใน การเป็นเมืองสุขภาพครบวงจรและศูนย์กลางทางการแพทย์ด้าน Medical Hub และส่งเสริม Ecosystem ในการ ส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้าน Life Science ต่อไป
เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2562 13:55:18 น. (view: 10336)