News & Activity

ข่าวและกิจกรรม

ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และองค์กรสื่อสารมวลชน ร่วมแรงร่วมใจ “เสริมสร้างความรอบรู้และสร้างพลังในวัยรุ่น” ในงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2563 “Working Together สุขภาพจิตไทย ก้าวไปพร้อมกัน”

    แพทย์หญิงสุวรรณี เรืองเดช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง กล่าวว่า จากการสำรวจโดยองค์กรยูนิเซฟ



(การพัฒนาวัยรุ่นและการมีส่วนร่วมของวัยรุ่น) พบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีวัยรุ่น อายุ 10-19 ปี ประมาณ 8.7 ล้านคนหรือ



คิดเป็นร้อยละ 13 ของประชากรทั้งหมด วัยรุ่นจำนวนมากกำลังเผชิญกับความเสี่ยงเรื่องสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ปัญหาด้าน



สุขภาวะของวัยรุ่น คือ การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การขาดสารอาหาร ภาวะอ้วน เหล้า บุหรี่ และสารเสพติด ตลอดจนปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต



     จากสถิติของโรงพยาบาลสวนปรุง การให้บริการผู้ป่วยนอก กลุ่มอายุ 10-19 ปี  ในปี 2562 และ 2563   



มีจำนวน 4,317 ราย และ 3,539 ราย โดยปี 2563 พบวัยรุ่นหญิงมากกว่าวัยรุ่นชาย โดยกลุ่มอาการที่พบมากที่สุดคือ



โรคซึมเศร้า รองลงมาคือโรคอารมณ์สองขั้ว และโรคสมาธิสั้น  



     แพทย์หญิงหทัยชนนี บุญเจริญ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กล่าวว่า จากข้อมูลการให้บริการของสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ซึ่งเป็นหน่วยบริการสังกัดกรมสุขภาพจิตอีกแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้บริการด้านพัฒนาการเด็กและสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ในปี 2562 และ 2563 มีผู้รับบริการผู้ป่วยนอก กลุ่มอายุ 10-19 ปี จำนวน 3,897 และ 3,218 คน ตามลำดับ โดยกลุ่มอาการที่มา 3 ลำดับแรก คือโรคสมาธิสั้น ภาวะออทิสติก และภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้  ทั้งนี้ พบว่ามีเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือทางพฤติกรรมอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล ปัญหาการปรับตัว พฤติกรรมต่อต้าน ติดเกม และปัญหาพฤติกรรมอารมณ์อื่นๆ เข้ารับบริการเพิ่มมากขึ้น



โดยปี 2562 และ 2563 มีผู้รับบริการด้วยปัญหาดังกล่าว 124 และ 121 คน ตามลำดับ และในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019  สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ได้สำรวจและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นในเขตสุขภาพที่ ๑ ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม 2563 จากการคัดกรองเด็กและวัยรุ่น อายุ 6–17 ปี จำนวน 651 คน พบมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต 122 คน คิดเป็นร้อยละ 18.74 และการเปลี่ยนอารมณ์พฤติกรรมที่พบมากที่สุดคือ หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ก้าวร้าว รองลงมาคือ การเรียนแย่ลง ฝันร้าย หรือผวาตื่นนอนละเมอ



     แพทย์หญิงสุวรรณี เรืองเดช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง กล่าวเพิ่มเติมว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย อารมณ์  สังคม และจิตใจ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วประกอบกับสังคมยุคดิจิตอล อาจทำให้วัยรุ่นที่ปรับตัวไม่ทันมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย การใช้สารเสพติด รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ตลอดจนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมคือการกลั่นแกล้งกัน (Bully)



 



-1-



      กรมสุขภาพจิตจึงได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตไปยังกลุ่มวัยรุ่น และมุ่งเน้นความร่วมมือกัน



ในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงองค์กรสื่อสารมวลชนในการสร้างความรอบรู้และส่งเสริมป้องกัน ให้เกิดประชาชนด้านสุขภาพจิต เพื่อสอดส่องดูแล ช่วยเหลือประคับประคองซึ่งกันและกันในภาวะวิกฤตต่างๆ



      ทีมสุขภาพจิต เขตสุขภาพที่ ๑ ประกอบด้วย โรงพยาบาลสวนปรุง สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ และศูนย์สุขภาพจิตที่ ๑  ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่/ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่/ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ ๑/  ศูนย์อนามัยที่ 1/ สำนักสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 1/ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือ/ เทศบาลนครเชียงใหม่/ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ และสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 3 จัดกิจกรรมสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2563 ภายใต้ประเด็น “Working Together สุขภาพจิตไทย ก้าวไปพร้อมกัน”



ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 นี้  ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ สำหรับ อาจารย์ และนักศึกษา และองค์กรสื่อมวลชน จำนวน 280 คน  



       ในงานมีการออกบูธสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ได้แก่ การตรวจเช็คสุขภาพจิตเบื้องต้น สร้างความเข้มแข็งทางใจ  การเข้าใจตนเองและการรับฟังผู้อื่น การกลั่นแกล้งรังแก  ความรอบรู้ด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  การป้องกันการตั้งครรภ์  บริการปรึกษาสุขภาพจิตเบื้องต้นโดยรถโมบายคลายเครียด 



       ทั้งนี้ ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ในการจัดงานในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นพลังขับเคลื่อนการดำเนินงานสุขภาพจิต ส่งเสริมให้เกิดประชาชนด้านสุขภาพจิตที่มีแนวคิดช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น ช่วยเหลือประคับประคองเพื่อให้ก้าวผ่นพ้นวิกฤตไปได้พร้อม ๆ กัน รวมถึงเฟ้นหาและบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์กรที่มีความสนใจด้านสุขภาพจิต กระตุ้นให้องค์กรต่างๆ เห็นความสำคัญของสุขภาพจิต ลงทุน และดำเนินงานไปพร้อมกับกรมสุขภาพจิต

เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563 12:22:38 น. (view: 7223)

รูปภาพ-เอกสารประกอบ




FM100 CMU Logo
สถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ 50200

Call us

On air : 053-942711-2
Office : 053-942710

Email & Fax

EMAIL : fm100@cmu.ac.th
          fm100cmu@yahoo.com

LINE :  FM100CMU 

 

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน
https://forms.gle/e4E3rYTnv3LvxcxN8

ติดตาม FM100 ได้ทุกช่องทาง

รับฟังรายการสดได้ทาง